การดูแลหลังให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้น

การดูแลหลังให้ถูกวิธี-เพื่อป้องกันอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้น---feat

อาการปวดหลังเป็นอาการที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อใครหลายคน ซึ่งอาจเกิดจากการวางท่าทางที่ผิด ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง การยืน การก้มนานๆ หรือการยกของที่ผิดวิธี ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดหลังจะดีขึ้นในไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน แต่สำหรับบางคนก็มีอาการต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือหายปวดแล้วก็กลับมาปวดใหม่

ประเภทของอาการปวดหลัง

คนส่วนใหญ่จะเกิดอาการปวดหลังที่มีสาเหตุมาจากบริเวณของหลังส่วนล่าง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปวดเอว (Lumbago) อาการนี้อาจทำให้รู้สึกปวดไปตามแนวกระดูกสันหลัง ตั้งแต่คอลงมาจนถึงสะโพก และบางครั้งอาการปวดหลังอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆได้ เช่น

  • โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Slipped disc / Herniated disc)
  • โรคปวดร้าวลงขา (Sciatica) เกิดขึ้นเมื่อเส้นประสาทไซติก้าถูกรบกวนหรือถูกกดทับ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด ชา และเสียวลงไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง
  • การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท หรือข้อต่อบริเวณคอ (Whiplash) จากการได้รับการกระทบกระเทือนโดยฉับพลัน
  • ภาวะข้อไหล่ติด (Frozen shoulder) เกิดจากการอักเสบบริเวณรอบหัวไหล่ ส่งผลให้หัวไหล่ฝืด ปวด และเจ็บเมื่อมีการขยับ
  • โรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด (Ankylosing spondylitis ; AS) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในเวลานาน ทำให้เกิดการปวดเมื่อย และตึงบริเวณข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกราน

ส่วนที่เหลือในบทความนี้จะกล่าวถึงอาการปวดหลังที่ไม่ได้ระบุสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งแพทย์จะเรียกอาการปวดหลังเหล่านี้ว่า อาการปวดหลังแบบธรรมดา หรือปวดหลังแบบไม่จำเพาะ (Non-specific back pain)

ประเภทของอาการปวดหลัง

ต้องทำอย่างไร

อาการปวดหลังส่วนใหญ่จะสามารถหายได้ด้วยตัวเอง และไม่จำเป็นต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา โดยถ้ามีอาการปวดหลังเพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ การทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้อาจช่วยบรรเทาอาการ และช่วยให้ร่างกายฟื้นสภาพได้อย่างรวดเร็ว

  • ทำตัวให้กระตือรือร้นตลอดเวลา
  • รับประทานยาแก้ปวดถ้ารู้สึกว่าจำเป็นต้องใช้
  • ใช้การประคบร้อน หรือการประคบเย็น โดยสามารถหาซื้อได้จะร้านขายยาทั่วไป หรืออาจใช้ถุงแช่เย็น และกระติกน้ำร้อนแทนก็ได้

อาจเป็นเรื่องยากที่จะต้องทำตัวให้สดใสในขณะที่ยังรู้สึกเจ็บปวดอยู่ แต่สิ่งนี้จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูสภาพได้เร็วยิ่งขึ้น

ต้องทำอย่างไร ปวดหลัง

การรักษาสำหรับการปวดหลังแบบเรื้อรัง

ถ้าคุณมีอาการปวดหลังต่อเนื่องและยังไม่ดีขึ้นมาเป็นเวลา 6 สัปดาห์แล้ว ได้เวลาที่คุณควรจะเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำวิธีในการรักษา เช่น

  • ยาแก้ปวดที่ออกฤทธิ์แรง
  • การออกกำลังกายแบบเฉพาะ เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และช่วยให้มีการวางท่าทางต่างๆที่ดียิ่งขึ้น
  • การบำบัดโรคด้วยศาสตร์ต่างๆ เช่น อายุรเวททางกาย (Physiotherapy) การจัดกระดูก (Chiropractic) การจัดกระดูกและกล้ามเนื้อ (Osteopathy) หรือการฝังเข็ม (Acupuncture)
  • การเข้ารับคำปรึกษา เช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy ; CBT)
  • เข้ารับการดูแล และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาการปวด

บางคนเลือกที่จะเข้าพบนักบำบัดโรคด้วยศาสตร์ต่างๆ หรือการฝังเข็มโดยที่ไม่พบแพทย์ก่อน ซึ่งถ้าคุณต้องการที่รักษาด้วยวิธีเหล่านั้นก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ส่วนการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลังควรจะทำเป็นสิ่งสุดท้ายเมื่อคุณได้รับการรักษาทุกรูปแบบแล้วแต่ยังไม่ได้ผล

การรักษาสำหรับอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง

การป้องกันจากอาการปวดหลัง

วิธีการนั่ง ยืน นอน และลักษณะในการยกของนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อหลังได้ ทางที่ดีนั้นควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือท่าทางที่หลังจะต้องรับแรงกดเกินกว่าที่จะสามารถรับได้ ซึ่งการออกกำลังกาย เช่น การเดิน และว่ายน้ำเป็นวิธีที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดการปวดหลังได้ รวมถึงการทำโยคะ (Yoga) หรือพิลาทิส (Pilates) จะช่วยในการฟื้นฟูและสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง

การป้องกันจากอาการปวดหลัง

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าคุณควรเข้าพบแพทย์

คุณควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ หากมีอาการดังต่อไปนี้

  • เป็นไข้
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เกิดอาการบวม หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่หลัง
  • มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง และไม่ดีขึ้นแม้จะอยู่ในท่านอน
  • เจ็บหน้าอก
  • ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ และอุจจาระได้
  • ปัสสาวะไม่ออก
  • มีอาการชาที่อวัยวะเพศ ตะโพก หรือหลัง
  • ไม่สบายตัวในเวลากลางคืน
  • รู้สึกถึงอาการต่างๆหลังจากได้รับอุบัติเหตุ

อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของคุณกำลังได้รับอันตรายร้ายแรง และต้องเข้ารับการตรวจให้เร็วที่สุด

สัญญาณเตือน ปวดหลัง

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้