การสังเกตลักษณะ และอาการของโรคหัวใจชนิดต่างๆ

การสังเกตลักษณะ-และอาการของโรคหัวใจชนิดต่างๆ---feat

อาการของโรคหัวใจจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นโรคหัวใจชนิดไหน

อาการจากโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง (Atherosclerotic disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular disease) เกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบ อุดตัน หรือแข็งตัว ทำให้หัวใจ สมอง หรือส่วนอื่นๆของร่างกายไม่สามารถรับเลือดได้เพียงพอ ซึ่งอาการอาจจะมีความแตกต่างกันสำหรับผู้ชายและผู้หญิง โดยผู้ชายจะมีอาการเจ็บหน้าอกที่มากกว่า ในขณะที่ผู้หญิงจะมีอาการอื่นมากกว่า เช่น การหายใจถี่ คลื่นไส้ และเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง

อาการที่สามารถพบ ได้แก่

  • เจ็บหน้าอก (Agina)
  • หายใจถี่
  • แขนหรือขาในบริเวณที่มีหลอดเลือดตีบ จะรู้สึกปวด ชา อ่อนแรง หรือแขนขาเย็น
  • เจ็บบริเวณคอ ขากรรไกร ลำคอ ช่วงท้องด้านบน และหลัง

คุณอาจจะไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ จนกว่าที่คุณจะมีภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภาวะสมองขาดเลือด หรือหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องคอยดูอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ และต้องคอยปรึกษากับแพทย์ โดยบางครั้งโรคหลอดเลือดหัวใจอาจพบได้เร็วจากการตรวจแบบทั่วไป

อาการจากโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง

อาการจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Heart arrhythmias)

การเต้นที่ผิดจังหวะของหัวใจอาจจะมีการเต้นในจังหวะที่เร็วเกินไป หรือช้าเกินไป

อาการที่สามารถพบ ได้แก่

  • ใจสั่น
  • หัวใจเต้นเร็ว (Tachycardia)
  • หัวใจเต้นช้า (Bradycardia)
  • แน่นหน้าอก
  • หายใจถี่
  • เวียนศีรษะ
  • ตาลาย
  • หน้ามืด หรือเป็นลม (Syncope)

อาการจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อาการจากภาวะหัวใจพิการ (Heart defects)

ภาวะหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดที่ร้ายแรง มักจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนหลังจากเกิดมาเพียงไม่นาน

อาการที่พบได้ คือ

  • ตัวซีด เทา หรือมีสีน้ำเงิน เรียกว่า อาการเขียวคล้ำ (Cyanosis)
  • ขา ท้อง และบริเวณรอบดวงตาบวม
  • ในทารกจะมีการหายใจถี่ขณะกินอาหาร นำไปสู่การเพิ่มขี้นของน้ำหนักตัวที่ช้าลง

ส่วนภาวะหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดที่ไม่ร้ายแรงมาก มักจะไม่มีการแสดงอาการจนกว่าจะอยู่ในหลังวัยเด็ก หรืออยู่ในวัยผู้ใหญ่ โดยอาการและสัญญาณที่แสดงออกมักจะยังไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตในทันที ได้แก่

  • หอบง่ายเมื่อออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมต่างๆ
  • เหนื่อยง่ายขณะออกกำลัง หรือทำกิจกรรมต่างๆ
  • มือ เข่า หรือเท้าบวม

อาการจากภาวะหัวใจพิการ

อาการจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง (Dilated cardiomyopathy)

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจหนาและแข็งตัว ในระยะแรกมักจะยังไม่มีอาการ และจะมีอาการเมื่อมีสภาวะที่แย่ลง ได้แก่

  • หอบเมื่อต้องออกแรง หรือเมื่ออยู่ในขณะพัก
  • ขา เข่า และเท้าบวม
  • เหนื่อยล้า
  • มีความผิดปกติของการเต้นหัวใจ ทำให้รู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็ว บีบหัวใจ หรือใจสั่น
  • เวียนศีรษะ และหน้ามืด เป็นลม

อาการจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

อาการจากภาวะหัวใจติดเชื้อ

ภาวะหัวใจติดเชื้อมี 3 ประเภท ได้แก่

  1. เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericaditis) เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อรอบๆหัวใจ (Pericardium)
  2. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อระหว่างผนังหัวใจ (Myocardium)
  3. เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis) เกิดขึ้นที่เยื่อหุ้มชั้นในที่กั้นระหว่างห้องหัวใจกับลิ้นหัวใจ (Endocardium)

การติดเชื้อแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ซึ่งอาการที่พบ ได้แก่

  • เป็นไข้
  • หายใจถี่
  • อ่อนแรง หรือเหนื่อยล้า
  • ขา หรือท้องบวม
  • จังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไป
  • ไอแห้ง หรือไอไม่หยุด
  • ผิวหนังขึ้นผื่น หรือมีจุดที่ผิดปกติ

อาการจากภาวะหัวใจติดเชื้อ

อาการจากโรคลิ้นหัวใจ (Valvular heart disease)

หัวใจของคนเราแบ่งออกเป็น 4 ห้อง ซึ่งแต่ละห้องก็จะมีลิ้นหัวใจกั้นอยู่ ได้แก่ Aortic valves, Mitral valves, Pulmonary valves และ Tricuspid valves ที่จะทำการเปิดและปิดตามการไหลเวียนของเลือดในหัวใจ ซึ่งอาจได้รับอันตรายจากการตีบ (Stenosis) การรั่วไหล (Regurgitation / Insufficiency) หรือการปิดที่ไม่สนิทของลิ้นหัวใจ (Prolapse)

อาการที่พบได้ คือ

  • เหนื่อย อ่อนแรง
  • หายใจถี่
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • เท้า หรือเข่าบวม
  • เจ็บหน้าอก
  • เป็นลม

อาการจากโรคลิ้นหัวใจ

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่

ควรเข้าพบแพทย์ฉุกเฉินเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้

  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจหอบถี่
  • หน้ามืด หรือเป็นลม

โรคหัวใจเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายหากมีการตรวจพบเร็ว ดังนั้นจึงควรที่จะพบแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องสุขภาพหัวใจเป็นประจำ หรือถ้ามีความกังวลว่ากำลังจะเป็นโรคหัวใจ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับขั้นตอนที่จะช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ สิ่งนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน และหากคิดว่าอาจจะเป็นโรคหัวใจจากสัญญาณหรืออาการต่างๆของร่างกาย ก็ควรที่จะเข้าพบแพทย์ประจำตัวเพื่อดูแลรักษา

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้