ข้อแตกต่างระหว่าง “โรคพาร์กินสัน” และ “พาร์กินโซนิซึม”

ข้อแตกต่างระหว่าง-“โรคพาร์กินสัน”-และ-“พาร์กินโซนิซึม”---feat

Parkinson’s disease คืออะไร

โรคพาร์กินสัน เกิดความผิดปกติทางระบบประสาทในสมอง ที่ส่วนใหญ่จะมีการดำเนินของโรคไปอย่างช้าๆ อาจใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาขึ้นของอาการ โดยอาการที่เกิดขึ้นจะได้แก่ อาการที่เกิดจากการสูญเสียการควบคุม เช่น การสั่นของร่างกายเมื่ออยู่นิ่งๆ เกร็ง การเคลื่อนไหวที่ช้า ทรงตัวได้ลำบาก และอาการที่ไม่เกี่ยวกับการควบคุม เช่น รู้สึกหดหู่ สูญเสียการรับรู้กลิ่น มีปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร และอาการอื่นอีกมากมาย โดยตัวของโรคพาร์กินสันเอง เป็นโรคที่ไม่ได้มีความอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะแทรกซ้อน และอายุโดยเฉลี่ยนของผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันจะอยู่ที่อายุประมาณ 60 ปี แต่จากประมาณ 15% การวินิจฉัยโรคพบว่า โรคพาร์กินสันนั่นเริ่มที่จะมีอาการตั้งแต่ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว

Parkinson's disease พาร์กินสัน

Parkinsonism คืออะไร

พาร์กินโซนิซึม คือ กลุ่มความผิดปกติของระบบประสาทที่ทำให้เกิดปัญหาด้านการเคลื่อนไหว คล้ายกับอาการที่พบในโรคพาร์กินสัน เช่น ร่างกายสั่น เคลื่อนไหวช้า และการเกร็ง โดยในช่วงต้นของการเกิดโรค มักจะยากที่จะทราบว่าเป็นโรคพาร์กินสัน หรือพาร์กินโซนิซึม

พาร์กินโซนิซึม หรือกลุ่มอาการที่เป็นที่รู้จักในชื่อ ความผิดปกติของโรคพากินสัน (Atypical Parkinson’s disease) หรือโรคพาร์กินสันเทียม (Parkinson’s plus) มีการวินิจฉัยพบประมาณ 10% จากผู้ที่มีอาการ โดยอาการจะมีการพัฒนาเร็วกว่าผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน และมีอาการที่เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น เริ่มจากการหกล้ม หงุดหงิด หรือเห็นภาพหลอน และการไม่ตอบสนองหรือไม่ตอบสนองแค่ในระยะเวลาสั้นๆต่อกลุ่มยาลีโวโดปา (Levodopa) แต่ในการวินิจฉัยก็มีหลายคนที่ไม่มีการแสดงออกถึงอาการที่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นพาร์กินโซนิซึม

Parkinsonism พาร์กินโซนิซึม

1.อาการพาร์กินโซนิซึมที่เกิดจากยาบางชนิด (Drug-Induced Parkinsonism)

เป็นอาการที่สามารถแยกความแตกต่างจากโรคพาร์กินสันได้ยาก โดยจะมีความรุนแรงของอาการสั่นของร่างกาย และการทรงตัวได้ยากที่น้อยกว่า สาเหตุของการเกิดอาการมักมาจากผลข้างเคียงของยาที่ส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) ในสมอง เช่น ยาระงับอาการทางจิต (Antipsychotic) ยาลดความดันกลุ่มต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) บางตัว และสารกระตุ้นอย่างยาในกลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamines) และโคเคน (Cocaine) และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดยามักจะมีอาการข้างเคียงตามมาในภายหลัง ซึ่งอาจมีระยะเวลาถึง 18 เดือน

อาการพาร์กินโซนิซึมที่เกิดจากยาบางชนิด

2.โรคก้านสมองเสื่อม (Progressive Supranuclear Palsy ; PSP)

จะมีอาการที่มากกว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis ; ALS) หรือโรคลูเกริก (Lou Gehrig disease) เล็กน้อย โดยมักจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 60 ปี ในระยะเริ่มต้นจะมีอาการหลงลืม มีบุคลิกภาพทีเปลี่ยนไป และการสูญเสียการทรงตัวขณะเดิน ปัญหาเรื่องการมองเห็น เป็นปัญหาหนึ่งของโรคก้านสมองเสื่อมที่มักจะเกิดขึ้นหลัง 3 – 5ปี จากปัญหาเรื่องการเดิน รวมถึงอาการที่ไม่สามารถวางตำแหน่งของตาได้อย่างปกติ เนื่องจากความอ่อนแรงหรือการเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวลูกตา ซึ่งผู้ที่เป็นโรคก้านสมองเสื่อมอาจจะมีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากลุ่ม Dopaminergic treatment แต่อาจจะต้องใช้ในปริมาณที่มากกว่าผู้ป่วยโรคพากินสัน

โรคก้านสมองเสื่อม พาร์กินสัน

3.โรคประสาทเสื่อมหลายที่ (Multiple System Atrophy ;MSA)

เป็นกลุ่มของความผิดปกติของระบบการทำงานที่หนึ่ง หรือหลายที่ในร่างกายหยุดการทำงาน ซึ่งระบบประสาทอัตโนมัติมักจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในระยะแรกของการเกิดโรค อาการที่เกิดขึ้นได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ อย่างการปัสสาวะเร่งรีบ หรือการปวดปัสสาวะรุนแรงอย่างฉับพลัน (Urinary urgency) ปัสสาวะล่าช้า (Hesitancy urine) หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Incontinence of urine) และหน้ามืดเมื่อมีการเปลี่ยนท่าทาง (Orthostatic hypotension ; nOh) เกิดจากการที่ความดันโลหิตลดลงเมื่อลุกขึ้นยืน สำหรับผู้ชาย อาการที่จะมาเป็นอันดับแรกก็คือการสูญเสียการทำงานของอวัยวะเพศ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่นๆตามมา ได้แก่ ความผิดปกติของการพูด หายใจลำบาก กลืนลำบาก และไม่มีเหงื่อออก ซึ่งเช่นเดียวกับพาร์กินโซนิซึมแบบอื่นๆ ที่อาจจะตอบสนองเล็กน้อย หรือไม่ตอบสนองเลยต่อยารักษาโรคพาร์กินสัน

โรคประสาทเสื่อมหลายที

4.โรคพาร์กินโซนิซึมที่เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตัน (Vascular Parkinsonism)

มักจะเกิดปัญหาในเรื่องการเดินมากกว่าการสั่นของร่างกาย และจะมีปัญหาที่ส่วนมากที่ส่วนล่างของร่างกาย อาการของพาร์กินโซนิซึมชนิดนี้จะมีการดำเนินไปอย่างช้ามากๆเมื่อเทียบกับพาร์กินโซนิซึมชนิดอื่น และผู้ที่เป็นอาจจะพบกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน นอกจากนี้โรคพาร์กินโซนิซึมที่เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตันอาจจะมีการตอบสนอง หรือไม่ตอบสนองต่อยาลีโวโดปาก็ได้

โรคพาร์กินโซนิซึมที่เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตัน

5.ภาวะสมองเสื่อมแบบมีเม็ดลิวอี้ (Dementia with Lewy bodies ; DLB)

เป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุรองจากโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) ที่ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพทางสติปัญญาและการทำงานต่างๆ โดยมีอาการที่เพิ่มเติมจากโรคพาร์กินสัน คือ มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยต่อความสามารถในการคิด ระดับความสนใจหรือการตื่นตัว และการมองเห็นภาพหลอน ในภาวะนี้มักจะไม่มีอาการสั่นทางร่างกาย หรือมีเพียงเล็กน้อย และอาจจะมีการตอบสนองหรือไม่ตอบสนองต่อยาลีโวโดปา

ภาวะสมองเสื่อมแบบมีเม็ดลิวอี้ พาร์กินโซนิซึม

6.ภาวะฐานของเปลือกสมองเสื่อม (Corticobasal degeneration ; CBD)

เป็นความผิดปกติประเภทสุดท้ายของพาร์กินโซนิซึมที่มักจะเกิดขึ้นหลังอายุ 60 ปี อาการที่พบได้แก่ การสูญเสียการทำงานที่ด้านหนึ่งของร่างกาย มีปัญหาเรื่องการขยับและการกระตุกที่แขนและขา หลายคนอาจรู้สึกว่าไม่สามารถขยับแขนขาได้ตามต้องการ รวมถึงการมีปัญหาด้านการพูด และการสูญเสียประสาทสัมผัส ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะสำหรับภาวะ CBD

การวินิจฉัยโรค

สำหรับการวินิจฉัยโรคพากินสัน หรือพาร์กินโซนิซึมยังไม่มีวิธีการที่ชัดเจน โดยแพทย์จะทำการศึกษาผ่านประวัติทางการแพทย์อย่างละเอียด และอาจมีการทดสอบการเคลื่อนไหว เพราะในการวินิจฉัยด้วยการสังเกตทางธรรมชาติอาจมีการสับสนระหว่างโรคพาร์กินสัน และพาร์กินโซนิซึม รวมถึงวิธีการวินิจฉัยโรคอาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับความเร็วของการดำเนินไปของโรค การตอบสนองต่อยา และอื่นๆ ซึ่งการวินิจฉัยด้วย DAT Scan ยังไม่สามารถที่จะแยกความแตกต่างระหว่างโรคพาร์กินสัน และพาร์กินโซนิซึมได้

การวินิฉัยโรค พาร์กินสัน พาร์กินโซนิซึม

การรักษา

การรักษาโรคพาร์กินสัน และพาร์กินโซนิซึมเป็นการรักษาที่มีคาบเกี่ยวกัน โดยการรักษาแบบ Dopaminergic therapy เป็นขั้นแรกในการรักษาโรคพาร์กินสัน และอาจจะสามารถมีผลในการรักษาพาร์กินโซนิซึมในบางกรณี ส่วนการรักษาอื่นๆที่ใช้ได้กับทั้งโรคพาร์กินสัน และพาร์กินโซนิซึม ได้แก่ การรักษาทางกายภาพ การทำงาน และการพูด รวมถึงการใช้ยารักษาอาการซึมเศร้า และ Botulinum toxin (Botox) สำหรับภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia)

การรักษา พาร์กินสัน พาร์กินโซนิซึม

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้