ความสัมพันธ์กันระหว่าง “โภชนาการ” กับ “โรคเบาหวาน”

ความสัมพันธ์กันระหว่าง-“โภชนาการ”-กับ-“โรคเบาหวาน”---feat

คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกไม่ดีเมื่อต้องเข้าพบแพทย์ ไม่ว่าจะเพื่อตรวจโรค หรือว่าเพื่อรักษาโรคก็ตาม แต่สำหรับบางโรคแล้วก็มาเป็นภัยเงียบ และจะส่งสัญญาณเตือนให้รู้เพียงแค่ไม่นานก่อนที่จะจำเป็นต้องทำการรักษาอย่างจริงจัง หรือบางครั้งก็อาจจะไม่ส่งสัญญาณใดๆเลย ตัวอย่างโรคหนึ่งที่เห็นได้ก็คือโรคเบาหวาน โดยไม่ใช่แค่ประชากร 24 ล้านคนในประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้ เพราะมีประชากรอีก 25% ที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานคืออะไร

โรคเบาหวานคืออะไร

อาหารที่ได้รับประทานเข้าไปจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อเป็นพลังงานให้กับร่างกายและเป็นพลังงานให้กับเซลล์ โดยตับอ่อนจะทำการสร้างฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อนำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าสู่เซลล์ และถ้าเมื่อใดก็ตามที่อินซูลินในร่างกายไม่เพียงพอ หรือการทำงานของอินซูลินผิดปกติ จะส่งผลให้น้ำตาลกลูโคสค้างอยู่ในเลือด เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยโรคเบาหวานจะแบ่งออกเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 และเบาหวานในผู้ตั้งครรภ์

  1. เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes / Immune-mediated) เกิดจากการที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินออกมาไม่เพียงพอ โรคเบาหวานชนิดนี้มักจะพบในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้น
  2. เบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes / Noinsulin dependent) เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด บุคคลที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน มีการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ หรือมีคนในครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวาน พบมากในชาวแอฟริกันเชื้อชาติอเมริกา เชื้อสายเอเชียเชื้อชาติอเมริกา ชาวลาติโน่ ชาวอเมริกันโดยกำเนิด และชาวเกาะแปซิฟิก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในผู้หญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือคลอดทารกออกมามีน้ำหนักมากกว่า 9 ปอนด์ (4 กิโลกรัม) ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง มีค่า HDL (High-density lipoprotein) ต่ำ หรือมีค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Pre-diabetes)
  3. เบาหวานในผู้ตั้งครรภ์ (Gestational diabetes) สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ และมักจะหายไปหลังจากคลอดแล้ว

โรคเบาหวานมีความร้ายแรงยังไง

โรคเบาหวานมีความร้ายแรงยังไง

Claudia L. Morrison นักวิจัยพัฒนา และผู้ประสานงานผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคเบาหวานของ Washington Hospital Center ใน Washington D.C. กล่าวว่า “โรคเบาหวาน เมื่อมีการควบคุมที่แย่ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป นั่นอาจทำให้คุณรู้สึกไม่ดี และยังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้า” ปัญหาจากโรคเบาหวานสามารถส่งผลกระทบต่อทุกส่วนในร่างกาย อาจเริ่มจากตาข้างหนึ่ง ไปไต เส้นประสาทที่ส่งไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ หลอดเลือด และเหงือก แต่ปัญหาที่น่าเป็นกังวลที่สุดก็คือการเกิดโรคหัวใจ และความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง

บทบาทของอาหารกับโรคเบาหวาน

บทบาทของอาหารกับโรคเบาหวาน

Elizabeth Ricanati ผู้อำนวยการแพทย์ของ Cleveland Clinic กล่าวว่า “อาหารสามารถเป็นได้ทั้งตัวส่งเสริม หรือป้องกันการเกิดโรคเบาหวานก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าอาหารนั้นส่งผลอย่างไรต่อระดับน้ำตาลในร่างกาย ซึ่งควรที่จะหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มคอเลสเตอรอล เช่น อาหารแปรรูป อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือไขมันทรานส์สูง และอาหารที่เติมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อม” โดยอาหารแปรรูปเป็นอาหารที่มีปริมาณของไขมัน และน้ำตาลสูง ที่นอกจากจะทำลายความสมดุลระหว่างระดับน้ำตาลกับอินซูลินที่มีผลทำให้เกิดการอักเสบแล้ว ยังสามาถนำไปสู่การเกิดของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การมีน้ำหนักตัวเกิน เป็นต้น

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้