ถาม – ตอบ และคำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการตั้งครรภ์ ฉบับเร่งด่วน
การตัดสินใจ หรือตกลงกันว่าอยากมีลูกนั้นเกิดจากหลายปัจจัย อาจเพราะเหตุผลบางประการ ความรู้สึกกังวล ความปลอดภัย การวางแผนในอนาคต และการปฏิบัติที่ดีที่สุด แต่เมื่อเวลาที่คุณและคู่ของคุณตัดสินใจว่าต้องการที่จะมีลูก คุณก็อยากที่จะให้มันเกิดขึ้นในทันที
ความคาดหวังว่าจะต้องประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ทำให้ผู้หญิงเริ่มที่จะสืบค้นข้อมูลเพื่อที่จะศึกษาภาวะเจริญพันธุ์ที่เหมาะกับการตั้งครรภ์ เพื่อให้ผลการตรวจครรภ์ออกมาเป็นเส้นสีชมพู 2 ขีด แต่ข้อมูลจากทางออนไลน์แสดงให้เห็นว่าความสำเร็จที่จะตั้งครรภ์นั้นยากยิ่งกว่าการที่ยานอวกาศลงมาจอดที่สวนหลังบ้านซะอีก ส่วนข้อเท็จจริงจากฝั่งออฟไลน์นั้นบอกว่า ช่วงเวลาที่ภาวะเจริญพันธุ์ที่ดีสุดของเพศหญิงนั้นจะอยู่ในช่วงอายุ 27 ปี โดยที่อายุ 35 ปี นั้นจัดอยู่ในกลุ่มที่มีอายุค่อนข้างสูงสำหรับการตั้งครรภ์ ซึ่งยิ่งมีอายุมาก ก็ยิ่งตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม Victoria Jennings ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์กล่าวว่า นอกเหนือจากผู้หญิงที่พยายามที่จะตั้งครรภ์ ก็ไม่มีข้อมูลที่บอกถึงอัตราการมีบุตรยากที่เพิ่มขึ้น และแม้แต่ผู้หญิงในช่วงอายุ 30 ปลาย ๆ และ 40 ต้น ๆ ที่มีปัญหา ปัจจุบันก็ได้มีนวัตกรรมในการรักษา และเพิ่มการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์อีกด้วยเรารู้ว่าคุณยังคงกังวลอยู่ ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่เรานำผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะเจริญพันธุ์มาตอบคำถามที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องการที่จะรู้
ตอบคำถามเรื่องภาวะเจริญพันธุ์
ช่วงที่ผู้หญิงมีภาวะเจริญพันธุ์ที่ดีที่สุด คือเมื่อไหร่
คุณมีเวลาประมาณ 6 วันต่อเดือนที่จะมีช่วงเวลาที่ภาวะเจริญพันธุ์อุดมสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งมักจะเริ่มต้น 5 วันก่อนการตกไข่ และจะสิ้นสุดก่อน 1 วันหลังการ เพราะเชื้ออสุจินั้นต้องการที่จะเข้าไปถึงส่วนบนของท่อนำไข่ เพื่อให้เจอกับไข่ที่ตกออกจากรังไข่ และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ ก็คือการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตกไข่ โดยกลยุทธ์ที่ดีที่สุดก็คือการมีเพศสัมพันธุ์อย่างน้อยวันละครั้งในช่วงภาวะเจริญพันธุ์
แต่มันอาจเป็นเรื่องยากที่คุณจะรู้ว่าคุณจะมีการตกไข่เมื่อไหร่ เพราะแม้ว่ารอบเดือนของคุณจะมาตรงรอบ 27 วันของทุก ๆ เดือน ก็ไม่จำเป็นว่าว่าการตกไข่จะตรงรอบกันทุกรอบเดือน ซึ่งปัจจุบันได้มีชุดทดสอบการตกไข่ (OTC Ovulation Test Kit) ที่ช่วยให้คุณทราบได้ว่าคุณจะมีการตกไข่เมื่อไหร่
การมีเพศสัมพันธุ์ในท่วงท่าต่าง ๆ ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์หรือไม่
แพทย์กล่าวว่า ท่าทางในการมีเพศสัมพันธุ์ไม่ได้มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ดังนั้นคุณไม่จำเป็นที่จะต้องห้อยหัวลงหลังจากมีเพศสัมพันธุ์ เพราะในความเป็นจริงนั้น เชื้ออสุจิจะใช้เวลาแค่ไม่กี่นาทีที่จะว่ายเข้าไปยังเมือกปากมดลูก และออกสู่มดลูกในช่วงหลายวันถัดไป การยกสะโพกให้สูงขึ้น หรือการพยายามทำให้มดลูกกลับทิศทางจึงไม่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
มีอาการใดที่สามารถบ่งบอกว่าเป็นผู้มีภาวะการตั้งครรภ์ยากหรือไม่
น่าเสียดายที่จะต้องบอกว่าไม่มีอาการใดที่สามารถบ่งบอกได้ โดยส่วนมากแล้วจะไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้น และความบกพร่องทางภาวะเจริญพันธุ์ เช่น ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกมดลูก หนองในเทียม และภาวะถุงรังไข่หลายใบ มักจะวินิจฉัยไม่พบจนกระทั้งเริ่มพยายามที่จะตั้งครรภ์
Louis Weckstein ผู้อำนวยการแพทย์ของ Reproductive Science Center ที่ San Francisco Bay กล่าวว่า “มีเพียงภาวะเดียว คือ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่อาจทำให้รู้สึกปวดขณะมีเพศสัมพันธุ์ หรือระหว่างมีประจำเดือน” และหากคุณยังไม่ได้ทำการตรวจร่างกาย คุณควรไปตรวจให้แน่ใจว่ามีสุขภาพที่ดี และปลอดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์
ทำไมอายุของผู้หญิงถึงมีความสำคัญ
อายุเป็นปัจจัยสำคัญอันดับหนึ่งของภาวะเจริญพันธุ์ แน่นอนว่าเราอาจจะเคยได้ยินว่าผู้หญิงอายุ 50 ปี ให้กำเนิดบุตรได้อย่างน่าอัศจรรย์หลังจากทำการรักษาภาวะเจริญพันธ์ แต่ในความจริงแล้วมันเป็นการปฏิสนธิในหลอดทดลอง (IVF) โดยโอกาสในการให้กำเนิดเด็กในช่วงอายุ 45 ปีมีเพียงแค่ 1 – 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เพราะเมื่อผู้หญิงมีอายุที่มากขึ้น จำนวนไข่ที่อุดมสมบูรณ์นั้นจะลดลง และอายุช่วง 35 ปี ระบบการผลิตไข่ของร่างกายจะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลง ทำให้การตกไข่ยากและมีความถี่ที่ลดลง ซึ่งคุณอาจจะมีไข่เป็นร้าย ๆ ใบ แต่จะมีเพียงไม่กี่ใบที่จะถูกเลือกให้ตกลงมา
ผู้ชายอยู่ในช่วงภาวะเจริญพันธุ์ตลอดไปหรือไม่
ภาวะเจริญพันธุ์ของผู้หญิงจะเริ่มลดลงในช่วงต้นของอายุ 30 ปี และลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 30 ปลายๆ และ 40 ปี ในผู้ชายก็เช่นกัน แต่ไม่ได้ลดลงอย่างรวดเร็วเหมือนกับผู้หญิง ซึ่งภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ชายจะลดลงประมาณปีละ 1 เปอร์เซ็นต์หลังอายุ 30 ปี เป็นผลให้อสุจิของผู้ชายมีจำนวนลดลง
สำหรับเพศชาย จะมีสัญญาณเล็กน้อยที่บอกว่าอสุจินั้นเสื่อมสภาพลง สังเกตได้จากน้ำหนักตัวว่าเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะเมื่อฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ในเซลล์ไขมันโดยเฉพาะช่วงท้องเริ่มเสื่อมสภาพลง ทำให้มีปริมาณไขมันเพิ่มขึ้น ลูกอัณฑะมีขนาดเล็กลงหรือห้อยต่ำอาจเป็นสัญญาณของการเกิดเส้นเลือดขอดบริเวณอวัยวะเพศ ส่งผลให้จำนวนอสุจิและฮอร์โมนเพศชายมีจำนวนลดลง โดยการรักษาตั้งแต่ต้น ๆ จะช่วยฟื้นฟูภาวะเจริญพันธุ์ของคุณและคู่ของคุณได้ ซึ่งสำหรับเพศชายที่มีความบกพร่องของเชื้ออสุจิ หรือมีอสุจิจำนวนน้อย สามารถแก้ปัญหาได้ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการแยกเชื้ออสุจิที่ดีออกมาจากส่วนอื่น ๆ
สามารถบริโภคยารักษาอาการโรคซึมเศร้า (Antidepressants) ได้หรือไม่
ยารักษาอาการโรคซึมเศร้าเป็นยากที่ต้องบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน ตัวยาไม่ส่งผลกระทบต่อรอบเดือนหรือภาวะเจริญพันธุ์ ซึ่งแพทย์ไม่อนุญาตให้หยุดยาก เพราะมีความเสี่ยงต่อการกำเริบของอาการ และยังมีแนวคิดว่าการที่มีอารมณ์ดี มีความสุข จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงสุขภาพการตั้งครรภ์ด้วย แม้ว่ายากรักษาอาการโรคซึมเศร้าจะยังไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในขณะตั้งครรภ์หรือขณะให้นมบุตร แต่สามารถใช้ได้หากมีการใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมกับความเสี่ยง ในขณะที่ยาคลายเครียดบางตัว เช่น Prozac, Celexa และ Zoloft อาจก่อให้เกิดความผิดปกติกับเด็กทารกได้
แต่ยาชนิดอื่นสามารถส่งผลกระทบต่อภาวะการเจริญพันธุ์ เช่น ยาปฏิชีวนะ (Antobiotics) สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมูกช่องคลอด ทำให้ยากที่จะรู้ว่าคุณมีการตกไข่เมื่อไหร่ นอกจากนี้ยังมียาแก้ไข้ และยาแก้แพ้สามารถทำให้มูกช่องคลอดหนา หรือแห้งได้ ส่งผลให้อสุจิเข้าผสมกับไข่ได้ยากขึ้น ถ้าคุณกำลังบริโภคยาชนิดใดอยู่ขณะที่วางแผนการตั้งครรภ์ ให้คุณปรึกษากับเภสัชกรหรือแพทย์ที่จ่ายยาเกี่ยวกับประโยชน์ และความเสี่ยงจากการบริโภคยา
ความเครียดส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หรือไม่
จากการสำรวจพบว่า 64 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงมีความคิดผิด ๆ เกี่ยวกับความเครียด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแพทย์มีความเชื่อว่าความเครียดและภาวะเจริญพันธุ์มีความสัมพันธ์กัน แต่ก็ยังไม่ได้การศึกษาและยืนยันทางวิทยาศาสตร์ว่าความเครียดจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะเจริญพันธุ์ Shari Lusskin ผู้อำนวยการแผนกจิตเวชการสืบพันธุ์ของ New York University Langone Medical Center กล่าวว่า “เห็นได้ชัดว่าผู้หญิงทุกคนทั่วโลกใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความเครียด แต่พวกเขาก็ยังสามารถที่จะตั้งครรภ์ได้” ในขณะที่ Sami David ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางคลินิกจาก ob-gyn ของ Mount Sinai Hospital ใน New York และผู้ร่วมเขียนเรื่อง Making Babies กล่าวว่า “จากทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวกับอารมณ์และความเครียด ระบุว่าความวิตกกังวลสามารถทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ช่วยสนับสนุนการตั้งครรภ์มีระดับลดลงได้ ซึ่งส่งผลต่อการตกไข่ แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะสรุปการเชื่อมโยงแบบง่าย ๆ ได้”
คำแนะนำที่ดีที่สุดก็คือการผ่อนคลาย และพยายามไม่ให้นาฬิกาชีวภาพเกิดการเปลี่ยนแปลง