พัฒนาการทารกในครรภ์ เปรียบเทียบกันในแต่ละสัปดาห์

พัฒนาการทารกในครรภ์-เปรียบเทียบกันในแต่ละสัปดาห์-feat

ติดตามการพัฒนาการทารกในครรภ์แบบสัปดาห์ต่อสัปดาห์ แล้วคุณจะเห็นความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น

หน้าตาของทารกเป็นอย่างไร

2 สัปดาห์ : ปฏิสนธิ

ในสัปดาห์นี้จะเริ่มต้นจากการปฏิสนธิของไข่ โดยจะใช้เวลา 12 – 24 ชั่วโมงหลังจากอสุจิได้เจาะเข้าไปในไข่ ขั้นตอนทางชีวะวิทยาอย่างง่าย ๆ นี้จะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น เป็นขั้นตอนที่จะนำไปสู่การกำเนิดชีวิตใหม่ หลังผ่านไปหลายวัน ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะทำการแบ่งตัวออกเป็นหลายเซลล์ จากนั้นจะเคลื่อนผ่านท่อนำไข่ลงมาฝังตัวยังมดลูก

3 สัปดาห์ : การฝังตัว

ขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นที่มดลูก ลูกบอลเล็ก ๆ จะถูกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เตรียมพร้อมที่จะพัฒนาเป็นทารก ลูกบอลเหล่านี้เรียกว่า บลาสโตซิสท์ (Blastocyst) ซึ่งจะเริ่มมีการผลิตฮอร์โมนที่ใช้ในการตั้งครรภ์ (Human Chorionic Gonadotropin ; hCG) ที่จะส่งสัญญาณไปยังรังไข่ให้หยุดการผลิตไข่

4 สัปดาห์

เซลล์ลูกบอลจะเข้าสู่ระยะตัวอ่อน (embryo) ช่วงนี้ตามปกติจะเป็นช่วงที่ครบรอบเดือน ซึ่งคุณสามารถที่จะตรวจดูผลการตั้งครรภ์ได้ด้วยที่ตรวจครรภ์

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับเมล็ดงาดำ (Poppy Seed)

4-สัปดาห์

5 สัปดาห์

สัปดาห์นี้ ทารกจะมีลักษณะคล้ายลูกอ๊อด แต่จะมีการเจริญเติบโตที่เร็ว เริ่มมีระบบไหลเวียนเลือด และเริ่มมีการเต้นของหัวใจ

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่าเมล็ดงา (Sesame Seed)

6 สัปดาห์

ทารกเริ่มมีจมูก ปาก และหูขึ้นเป็นรูปร่าง รวมไปถึงมีการพัฒนาของลำไส้และสมอง

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับถั่ว

7 สัปดาห์

ทารกจะมีขนาดตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังคงมีปลายหางอยู่ ซึ่งจะค่อย ๆ หายไปในไม่ช้า เริ่มมองเห็นมือและเท้าเล็ก ๆ คล้ายกับครีบ

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับผลบลูเบอร์รี่

7-สัปดาห์

8 สัปดาห์

ทารกเริ่มมีการเคลื่อนไหวไปรอบ ๆ แม้ว่าอาจจะยังไม่รู้สึกก็ตาม เซลล์ประสาทมีการแตกแขนงออกไปตามแนว ท่อหายใจมีการขยายตัวจากคอไปยังปอดที่กำลังพัฒนา

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดตัวเท่ากับเมล็ดถั่ว (Kidney Bean)

9 สัปดาห์

สรีระพื้นฐานทางกายภาพของทารกจะเกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ แต่ยังไม่ใช่ทั้งหมด ในสัปดาห์นี้หางของทารกจะหายไป น้ำหนักยังไม่ถึงออนซ์ แต่จะเริ่มมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดตัวเท่ากับองุ่น

10 สัปดาห์

ตัวอ่อนได้ผ่านการพัฒนาที่สำคัญที่สุดแล้ว ผิวของทารกจะยังคงโปร่งแสง ขาเริ่มขาได้ และมีรายละเอียดของโครงสร้าง เช่น เล็บ เพิ่มขึ้นมา

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับส้มจี๊ด (Kumquat)

10-สัปดาห์

11 สัปดาห์

ทารกมีโครงสร้างที่เกือบเต็มรูปแบบ ทารกมีการเตะ ยืด และการหายใจที่แสดงให้เห็นการพัฒนาของกระบังลม แต่คุณจะยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวดังกล่าว

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับผลมะเดื่อ

12 สัปดาห์

สัปดาห์นี้ ทารกเริ่มจะขยับนิ้วมือ นิ้วเท้าได้ เริ่มจะมีการขยับปาก ทารกจะรู้สึกได้หากคุณลูกท้อง แต่คุณอาจจะยังไม่รู้สึกสัมผัสใด ๆ

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับผลมะนาว

13 สัปดาห์

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของช่วงแรกของการพัฒนา ทารกจะมีลายนิ้วมือเกิดขึ้น หลอดเลือดดำและอวัยวะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านผิว

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับฝักถั่ว

13-สัปดาห์

สิ่งที่จะพบได้จากการพัฒนาในช่วงที่ 2

หลังจากผ่านช่วงแรกไป มีโอกาสน้อยมากที่จะพบการคลอดก่อนกำหนดในช่วงนี้ สำหรับคุณแม่หลายคนจะมีอาการแพ้ท้องและเมื่อยล้าน้อยลง ซึ่งถ้าคุณเริ่มมีแรงมากขึ้น ให้คุณเริ่มที่จะออกกำลังกาย แต่ต้องเป็นการออกกำลังกายสำหรับผู้ตั้งครรภ์

14 สัปดาห์

สมองของทารกจะได้รับการกระตุ้นในสัปดาห์นี้ รวมถึงมีการใช้กล้ามเนื้อใบหน้า อวัยวะภายในอย่างไตเริ่มทำงาน หากทำการอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) คุณอาจจะเห็นว่าทารกกำลังหัวแม่มืออยู่

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดประมาณผลเลมอน

15 สัปดาห์

เปลือกตาของทารกจะยังปิดสนิท แต่สามารถรับรู้ถึงแสงได้ ถ้าคุณส่องไฟไปที่ท้อง ทารกจะมีการเคลื่อนไหวหนีออกจากแสง การอัลตราซาวนด์อาจทำให้ทราบเพศของทารกได้

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับผลแอปเปิ้ล

16 สัปดาห์

ศีรษะของทารกเป็นรูปร่างมากขึ้น ขามีการพัฒนาเพิ่มจากเดิม จะเริ่มรู้สึกได้เมื่อทารกมีการเตะ หัวของทารกจะยกขึ้น และหูจะเข้าใกล้ตำแหน่งปกติ

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับอะโวคาโด

16-สัปดาห์

17 สัปดาห์

ทารกสามารถเคลื่อนไหวข้อต่อ กะโหลกศีรษะที่เคยเป็นกระดูกอ่อนจะเป็นกระดูกแข็ง สายสะดือจะแข็งแรงและหนาขึ้น

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับหัวผักกาด

18 สัปดาห์

คุณอาจรู้สึกได้ถึงการเคลื่อนไหวของทารก ส่วนภายในร่างกาย ในสัปดาห์นี้จะมีเยื่อหุ้มขึ้นมาปกคลุมรอบ ๆ เส้นประสาท

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับพริกหยวก

19 สัปดาห์

การรับรู้กลิ่น การมองเห็น สัมผัส รสชาติ และการได้ยินของทารกมีการพัฒนา ซึ่งทารกอาจจะได้ยินเสียงเวลาที่คุณพูด ร้องเพลง หรืออ่านหนังสือให้ฟัง

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับมะเขือเทศ (Heirloom Tomato)

19-สัปดาห์

20 สัปดาห์

ทารกสามารถที่จะกลืนได้ในช่วงนี้ และระบบทางเดินอาหารเริ่มมีการผลิตโมเลกุล ทารกเริ่มมีการขับถ่ายออกมาเป็นสีดำเหนียว ๆ เป็นลักษณะเดียวกันที่จะพบได้ทั้งในผ้าอ้อมของทารกเมื่อคลอดออกมา และในระหว่างตั้งครรภ์

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับผลกล้วย

21 สัปดาห์

การเคลื่อนไหวของทารกมีทั้งการเตะ และต่อยผนังมดลูก คุณอาจเริ่มเห็นรูปแบบและคุ้นชินกับกิจกรรมของทารกมากขึ้น

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับแครอท

22 สัปดาห์

ทารกจะดูคล้ายกับเด็กแรกเกิด เช่น ริมฝีปาก และคิ้ว จะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น แต่เม็ดสีที่ตาจะยังไม่ปรากฏสมบูรณ์

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับฟักสปาเกตตี้ (Spaghetti Squash)

22-สัปดาห์

23 สัปดาห์

ทารกจะรับรู้เสียงได้มากขึ้น ซึ่งหลังจากเกิดมา ทารกอาจจดจำบางเสียงที่ได้ยินจากภายนอกขณะอยู่ในครรภ์

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับมะม่วงผลใหญ่

24 สัปดาห์

รูปร่างที่ผอมจะค่อย ๆ มีเนื้อ มีหนังเพิ่มขึ้น ส่วนผิวจะยังคงบางและโปร่งแสง แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับฝักข้าวโพด

25 สัปดาห์

ผิวหนังที่เหี่ยวย่นของทารกจะเริ่มเต่งตึง ผมเริ่มขึ้น รวมถึงมีสีและผิวสัมผัสที่เหมือนกับเด็กแรกเกิด

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับ Rutabaga

25-สัปดาห์

26 สัปดาห์

ทารกมีการหายใจเอาน้ำคร่ำเข้า – ออก เป็นการพัฒนาปอด การหายใจนี้เป็นการฝึกหายใจสำหรับตอนแรกเกิด

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับมัดต้นหอม

27 สัปดาห์

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการพัฒนาในช่วงที่ 2 ทารกจะนอนหลับและตื่นเป็นเวลา และเป็นช่วงที่สมองทำงานได้ดี ส่วนของปวดนั้นยังพัฒนาไม่เต็มที่ แต่จะสามารถหายใจนอกมุดลูกได้ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับหัวกะหล่ำ

27-สัปดาห์

สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงที่ 3

ในช่วงนี้คุณจะปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือมีอาการของตะคริวที่ขาจากแรงกดบนเส้นประสาทช่วงสะโพกและหลัง ช่วงนี้จะถูกเรียกว่า ช่วงน้ำผึ้งพระจันทร์ (Honeymoon) ของการตั้งครรภ์ หรือหมายถึงช่วงที่ต้องเตรียมตัวที่จะเป็นพ่อแม่อย่างเต็มตัว เป็นเวลาที่เหมาะกับการเตรียมห้องของเด็กแรกเกิด และเลือกแพทย์ประจำตัวของลูก

28 สัปดาห์

ทารกมีการพัฒนาของสายตา อาจทำให้รับรู้การกรองแสงจากภายนอกได้ ทารกสามารถกระพริบต่อ และมีการเจริญเติบโตของขนตา

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับมะเขือยาวขนาดใหญ่

29 สัปดาห์

กล้ามเนื้อและปอดของทารกมีการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับโลกภายนอก ศีรษะเจริญเติบโตเป็นช่องสำหรับการพัฒนาของสมอง

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับ Butternut Squash

30 สัปดาห์

ทารกจะถูกห่อหุ้มด้วยถุง และน้ำคร่ำครึ่งถุง ซึ่งพื้นที่จะมีน้อยลง เนื่องจากทารกมีการเจริญเติบโตที่ต้องการพื้นที่ภายในมดลูกมากขึ้น

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับกะหล่ำปลีขนาดใหญ่

 30-สัปดาห์

31 สัปดาห์

ทารกสามารถที่จะหันหัวซ้าย-ขวาได้ ชั้นไขมันใต้ผิวหนังมีการเติมเต็มเข้ามาบริเวณแขนและขา

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับลูกมะพร้าว

32 สัปดาห์

สัปดาห์นี้คุณอาจจะต้องเพิ่มปริมาณการบริโภคอาหาร โดยอาหารครี่งนึงจะถูกส่งไปให้กับทารกโดยตรง ทำให้ทารกมีน้ำหนักเป็น 1 ใน 3 ของตอนแรกเกิดใน 7 สัปดาห์ถัดไป เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับโลกภายนอน

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับมันแกวขนาดใหญ่

33 สัปดาห์

กะโหลกศีรษะของทารกจะยังไม่เชื่อมกันสนิทในสัปดาห์นี้ ทำให้ศีรษะของทารกสามารถเปลี่ยนรูปทรงออกทางช่องคลอดได้ ซึ่งกะโหลกศีรษะจะไม่เชื่อมกันสนิทจนกว่าจะเข้าวัยผู้ใหญ่

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับผลสับปะรด

33-สัปดาห์

34 สัปดาห์

ระบบประสาทส่วนกลางของทารกได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับปอด สำหรับทารกที่เกิดช่วงสัปดาห์ที่ 34 – 37 และไม่มีปัญหาด้านสุขภาพ มักจะเป็นทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงในระยะยาว

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับแคนตาลูป

35 สัปดาห์

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ภายในมดลูกมีความอุดมสมบูรณ์ ไตของทารกได้รับการพัฒนาโดยสมบูรณ์ รวมไปถึงตับสามารถที่จะกำจัดของเสียได้บางส่วน

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับเมลอนพันธุ์ผิวเรียบ (Honeydew Melon)

36 สัปดาห์

ทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 1 ออนซ์ต่อวัน พื้นที่ของถุงที่ปกคลุมทารกจะมีน้อยลง รวมถึงจะมีไขมันในทารกแรกเกิด (Vernix Caseosa) เป็นเหมือนขี้ผึ้งที่ฃ่วยปกป้องผิวของทารกไว้

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับหัวผักกาดโรเมน

36-สัปดาห์

37 สัปดาห์

เข้าใกล้วันกำหนดคลอดขึ้นมาทุกที แต่ถึงแม้ว่าทารกจะดูเหมือนทารกแรกเกิดแล้ว แต่ก็ยังคงไม่พร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอก ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 สัปดาห์ กว่าที่ปอดและสมองของทารกจะได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับพวงของผักสวิสชาร์ด (Swiss Chard)

38 สัปดาห์

สีดวงตาของทารก จะยังไม่ปรากฏเต็มที่ ดังนั้นหากทารกเกิดมามีดวงตาสีน้ำเงิน เมื่อโตขึ้นสีตาของเขาอาจจะเปลี่ยนเป็นสีที่เข้มขึ้น

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับกระเทียมหอม

38-สัปดาห์

ระยะของการพัฒนาเต็มที่

เมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 39 ทารกจะมีการพัฒนาต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เมือกจะหุ้มมดลูกของคุณ รวมถึงลำไส้ของคุณด้วย

39 สัปดาห์

ลักษณะทางกายภาพของทารกมีการพัฒนาโดยสมบูรณ์ แต่ยังคงมีการสร้างไขมันเพื่อช่วยในการปรับอุณหภูมิเมื่อต้องออกสู่โลกภายนอก

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับแตงโมลูกเล็ก

40 สัปดาห์

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของระยะเวลากำหนดคลอด แต่ถ้าคุณมีการคลอดช้ากว่ากำหนด อย่าเพิ่งตกใจ เพราะสำหรับผู้หญิงบางคนก็มีการตกไข่ที่ช้ากว่าคิดไว้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอาจจะมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่ายังมีการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยหรือไม่

ในระยะนี้ ทารกจะมีขนาดเท่ากับฟักทองผลเล็ก

41 สัปดาห์

ช่วงนี้เป็นช่วงสุดท้ายของการอยู่ในครรภ์ของทารก หากผ่านไปอีก 2 สัปดาห์ของการกำหนดคลอด คุณและทารกสามารถที่จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งแพทย์ที่ฝากครรภ์จะเข้ามาคุยกับคุณเกี่ยวกับการคลอดที่จะเกิดขึ้น

41-สัปดาห์

การคลอด

การที่จะคุณจะได้พบหน้าลูกเป็นครั้งแรกหลังจากการตั้งครรภ์มานานเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น แต่แน่นอนว่าอะไรจะเกิดขึ้น เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการได้ และเป็นธรรมดาที่จะรู้สึกเป็นกังวล สิ่งที่จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมกับวันสำคัญของคุณ คือ ศึกษาวิธีการและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคลอดในรูปแบบต่าง ๆ

การคลอด

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้