ภัยร้ายที่คาดไม่ถึง!! ฆาตกรเงียบจากโรคความดันโลหิตสูง

ภัยร้ายที่คาดไม่ถึง!!-ฆาตกรเงียบจากโรคความดันโลหิตสูง---feat

ความดันโลหิตสูงคืออะไร?

ความดันโลหิตสูงคือโรคชนิดหนึ่งที่ความดันในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติ

ความดันโลหิตคืออะไร?

ความดันโลหิต คือ การบีบตัวของหัวใจให้เลือดสูบฉีดในกระแสเลือด หรือการปั๊มเลือดของหัวใจ โดยถ้าหากมีความดันเลือดเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง ซึ่งการที่มีความดันโลหิตสูงนับว่าเป็นอันตราย เพราะมันทำให้หัวใจทำงานหนักเกินไป และการบีบให้เลือดสูบฉีดมากเกินไป อาจทำลายหลอดเลือดแดงและอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ไต สมอง และตา

ความดันโลหิตคืออะไร

ประเภทของความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงมี2ประเภทหลักคือ

  • ความดันโลหิตสูงเบื้องต้น (Primary high blood pressure) คือประเภทของความดันโลหิตที่มีคนเป็นมากที่สุด โดยมีแนวโน้มที่จะเริ่มเกิดเมื่อคนมีอายุมากขึ้น
  • ความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ (Secondary high blood pressure) เกิดจากการใช้ยาบางชนิดโดยที่จะหายไปเมื่อหยุดใช้ยา

ประเภทของความดันโลหิตสูง

การวัดความดันโลหิต

เมื่อวัดความดันโลหิตจะมีเลข 2 ตัวเลขขึ้นมา ได้แก่ ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบ (Systolic Pressure) และความดันโลหิตช่วงหัวใจคลาย (Diastolic Pressure)

  • ความดันช่วงหัวใจบีบ คือ ความดันโลหิตขณะที่หัวใจเต้น
  • ความดันช่วงหัวใจคลาย คือ ความดันโลหิตระหว่างการเต้นของหัวใจ

โดยปกติเลขความดันช่วงหัวใจบีบจะอยู่ข้างบน หรือข้างหน้าความดันช่วงหัวใจคลาย เช่น 120/80 mmHg

ความดันโลหิตปกติ

ความดันโลหิตปกติ คือ ความดันช่วงหัวใจบีบต่ำกว่า 120 mmHg และความดันช่วงหัวใจคลายต่ำกว่า 80 mmHg ซึ่งเป็นปกติที่ความดันจะเปลี่ยนขณะหลับ ตื่นนอน กลัว หรือตื่นเต้น และเป็นปกติที่ความดันจะเพิ่มขึ้นขณะออกกำลังกาย แต่เมื่อไหร่ที่หยุดออกกำลังกายแล้ว เลขความดันก็ควรที่จะกลับมาสู่ค่าปกติ

ค่าความดันโลหิตผิดปกติ

ค่าความดันโลหิตผิดปกติ คือ มีค่าความดันมากกว่า 120/80 mmHg โดยหากมีค่าความดันสูงกว่าปกติ  แต่ไม่ถึงระดับความดันสูง (120/80 – 140/90 mmHg) จะเรียกว่า ช่วงก่อนความดันโลหิตสูง (Pre-hypertension) และหากมีค่าความดันช่วงหัวใจบีบมากกว่า 140 mmHg หรือความดันช่วงหัวใจคลายมากกว่า 90 mmHg จะนับว่าเป็นความดันโลหิตสูง ซึ่งถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานหรือโรคไตเรื้อรัง คุณควรจะรักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ต่ำกว่า 130/80 mmHg

การวัดค่าความดันโลหิต

ฆาตรกรเงียบ

ความดันโลหิตสูงมักถูกเรียกว่าฆาตรกรเงียบ เพราะโดยปกติจะไม่มีการแสดงออกของอาการ อาจเป็นบางครั้งที่มีอาการปวดหัว แต่ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ว่ามีความดันโลหิตสูงจนกระทั่งมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ไต หรือตา ซึ่งเมื่อความดันโลหิตสูงไม่สามารถวินิจฉัยหรือรักษาได้ จึงมีโอกาสให้นำไปสู่การเป็นโรคอื่นๆอีกมากมาย รวมถึงหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว โรคสมองขาดเลือด และไตวาย หรืออาจเลวร้ายจนทำให้ตาบอดได้

ภาวะแทรกซ้อน ความดันโลหิต

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นไปได้

ยิ่งผ่านไปนานๆความดันโลหิตสูงอาจก่อให้เกิดภาวะต่างๆ ดังนี้

  • หัวใจทำงานหนักเกินไป ส่งผลให้หัวใจใหญ่ขึ้นหรืออ่อนแอลง ซึ่งนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรคหลอดเลือดแดงโป่งพองบริเวณสมอง ขา ลำไส้ และม้าม
  • หลอดเลือดในไตแคบเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะไตต้มเหลว
  • หลอดเลือดในตาระเบิดหรือไหลออก ทำให้วิสัยทัศน์เปลี่ยน และอาจตาบอดได้
  • หลอดเลือดแดงในร่างกายแข็งง่ายขึ้น โดยเฉพาะในหัวใจ สมอง ไต และขา อาจทำให้หัวใจวาย สมองขาดเลือด หรือไตวายได้
Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้