มะเร็งปากมดลูก หากตรวจพบก่อน สามารถหลีกเลี่ยงได้

มะเร็งปากมดลูก-หากตรวจพบก่อน-สามารถหลีกเลี่ยงได้---feat

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นได้ในเพศหญิง โดยในระยะแรกจะไม่มีการแสดงออกของอาการ ส่วนอาการที่พบมากที่สุด คือ การมีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และในระหว่างหรือหลังรอบเดือน แต่การที่มีเลือดออกอย่างผิดปกติก็อาจจะไม่ใช่มะเร็งปากมดลูกเสมอไป อย่างไรก็ตามหากมีอาการดังกล่าวให้รีบเข้ารับการตรวจกับแพทย์โดยไวที่สุด และหากพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ก็ควรที่จะเข้าหาแพทย์เฉพาะทางภายใน 2 สัปดาห์

มะเร็งปากมดลูก

การตรวจหามะเร็งปากมดลูก

โดยปกติแล้วเยื่อบุผนังมดลูกจะมีการผลัดเซลล์ตลอดเวลา ในบางกรณีเซลล์เหล่านี้อาจพัฒนาขึ้นเป็นเซลล์มะเร็งได้ แต่ก็ยังเป็นกรณีที่พบได้ยาก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ของปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ง่ายตั้งแต่ระยะแรกๆ และสามารถทำการรักษา รวมถึงลดความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ องค์การอนามัย โดยองค์กรการบริหารด้านสุขภาพของประเทศอังกฤษ (National Health Service ; NHS) ได้ให้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกให้กับผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป แต่การที่ผลออกมากว่ามีความผิดปกติที่ปากมดลูกไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นโรคมะเร็ง ความผิดปกติส่วนใหญ่นั้นมาจากการติดเชื้อ หรือพบเซลล์มะเร็งที่สามารถรักษาได้มากกว่าที่จะเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งมีคำแนะนำว่าผู้หญิงที่มีอายุ 25 – 49 ปี ควรได้รับการตรวจทุกๆ 3 ปี และผู้หญิงอายุ 50 – 64 ปี ควรได้รับการตรวจทุกๆ 5 ปี ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ให้รับการตรวจเฉพาะผู้ที่ไม่เคยทำการตรวจ หรือเคยตรวจพบความผิดปกติ

การตรวจหามะเร็งปากมดลูก

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

เกือบทั้งหมดของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human papilloma virus ; HPV) ซึ่งสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ และหลายสายพันธุ์ที่ไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัส HPV บางชนิดก็สามารถทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก ซึ่งอาจนำไปสู่โรคมะเร็งปากมดลูก โดยสายพันธุ์ HPV 16 และ HPV 18 เป็น 2 สายพันธุ์ที่พบว่าเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก 70% โดยเชื้อไวรัสทั้ง 2 สายพันธุ์นี้จะไม่แสดงอาการ ทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่ามีการติดเชื้อ

สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

  1. ถ้าหากตรวจพบมะเร็งมดลูกตั้งแต่ระยะแรกๆ ส่วนมากจะสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ซึ่งในบางกรณีอาจจะต้องทำการผ่าตัดนำมดลูกออก หรือที่เรียกว่า การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy)
  2. การรักษาด้วยรังสี (Radiotherapy) เป็นการรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกๆ และบางกรณีอาจทำคู่ไปกับการผ่าตัด
  3. กรณีที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะที่มากขึ้น มักจะใช้การรักษาแบบผสมผสานกันระหว่าง การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) และการรักษาด้วยรังสี (Radiotherapy)

บางการรักษาอาจมีผลข้างเคียงในระยะยาว ได้แก่ หมดประจำเดือนไว และภาวะมีบุตรยาก

ภาวะแทรกซ้อน

ผู้หญิงหลายคนที่เป็นโรคมะเร็งปากมดลูกจะเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจเกิดจากผลโดยตรงหรือผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง โดยอาจมีภาวะแทรกซ้อนเพียงเล็กน้อย เช่น มีเลือดออกเล็กน้อยจากช่องคลอด หรือปัสสาวะบ่อย ไปจนถึงภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงชีวิต เช่น มีเลือดออกมาก หรือเกิดภาวะไตวาย

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

ระยะของมะเร็งปากมดลูก

จากการวิเคราะห์โดยการแบ่งความรุนแรงจากการแพร่กระจายของมะเร็งปากมดลูกออกเป็น 4 ระยะ แสดงให้เห็นเปอร์เซ็นต์ของโอกาสมีชีวิตรอดเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี ดังนี้

  • ระยะที่ 1 – 80-99%
  • ระยะที่ 2 – 60 – 90%
  • ระยะที่ 3 – 30 – 50%
  • ระยะที่ 4 – 20%

ระยะของมะเร็งปากมดลูก

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

ผู้หญิงทุกเพศ ทุกวัยมีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับผู้หญิงช่วงอายุ 30 – 45 ปีที่มีเพศสัมพันธ์ และพบน้อยมากในผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้