รู้ทัน! โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ลดความรุนแรงของโรค
ความดันโลหิตสูงคืออะไร?
ความดันโลหิตหรือความดันเลือด คือแรงผลักให้เลือดสูบฉีดเข้าสู่หลอดเลือด ความดันโลหิตสูงคือความดันในหลอดเลือดสูงเกินไป
ความดันโลหิตดูได้จาก 2 ตัวเลข เช่น 140/90 mmHg โดยที่เลขข้างหน้าหรือข้างบน (systolic) หมายถึงความดันขณะที่หัวใจเต้น และเลขข้างหลังหรือข้างล่าง (diastolic) หมายถึงความดันระหว่างการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตปกติจะอยู่ต่ำกว่า 120/80 mmHg แต่ถ้าผู้ใหญ่ที่มีความดันขณะหัวใจเต้นอยู่ระหว่าง 120-139 mmHg หรือความดันระหว่างการเต้นของหัวใจระหว่าง 80-89 แสดงว่าคุณเป็นความดันโลหิตสูงขั้นต้น คนที่มีความดันโลหิตสูงคือคนที่มีความดันขณะหัวใจเต้นมากกว่า 140 mmHg หรือความดันระหว่างการเต้นของหัวใจมากกว่า 90 mmHg เป็นเวลานาน
ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอะไรคือสาเหตุของความดันโลหิตสูง ไม่สามารถรักษาได้แต่ควบคุมได้ ไม่มีอาการบ่งบอกหรือสัญญาณเตือน และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมโรคความดันโลหิตสูงถึงอันตราย
ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 20 ปีส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงของหัวใจวายและโรคสมองขาดเลือด ซึ่งการไม่รู้และไม่ควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติถือว่าอันตรายมาก
ฉะนั้นตรวจเช็คความดันโลหิตเป็นประจำและดูแลสุขภาพตามคำแนะนำจากหมอ
ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง?
- คนที่ที่บ้านมีประวัติการเป็นความดันโลหิตสูง
- คนที่มีน้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วน
- คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
- คนที่รับประทานเกลือมากเกินไป
- คนที่ดื่มสุรามากเกินไป
- คนที่มีโรคเก๊าหรือโรคไต
- สตรีมีครรภ์
- ผู้หญิงที่ทานยาคุม
หรือโดยทั่วไปแล้วคนที่มีอายุมากขึ้นมีโอกาสจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากขึ้น
จะรู้ได้ยังไงว่าความดันโลหิตสูง?
มีทางเดียวที่จะรู้คือการตรวจเช็คความดันเป็นประจำ
ผลกระทบจากโรคความดันโลหิตสูง?
ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีการควบคุมอาจนำไปสู่
- โรคสมองขาดเลือด
- หัวใจวาย
- หัวใจล้มเหลว
- โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (PAD)
จะทำยังไงได้บ้าง?
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
- ทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ เกลือ และน้ำตาลต่ำ
- ควบคุมปริมาณแอลกอฮอล์ให้ไม่มากกว่า1แก้วต่อวันสำหรับผู้หญิงหรือ2แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย
- ออกกำลังกายมากขึ้น หรืออย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
- ทานยาตามที่หมอสั่ง
- รู้วิธีรักษาและควบคุมด้วยตัวเอง
ยาจะช่วยได้ยังไง?
ยาบางตัว เช่น ยารักษาโรคหัวใจวาย (vasodilators) ช่วยผ่อนคลายและเปิดหลอดเลือดเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น ส่วนยาขับปัสสาวะ (diuretic) ช่วยร่างกายจากการกักเก็บน้ำและเกลือมากเกินไป ยาอื่นๆจะช่วยให้หัวใจเต้นช้าลงและลดการบีบคั้น