สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการป้องกัน-และรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก---feat

จากการศึกษาของ American Cancer Society (ACS) เมื่อ 30 ปีที่แล้ว โรคมะเร็งปากมมดลูกเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตที่มากที่สุดของผู้หญิงอเมริกัน อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ACS พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นลดลงไปมากกว่า 50% ซึ่งนับได้ว่าเป็นมะเร็งส่วนที่สามารถป้องกันได้มากที่สุดจากการทำตามแนวทางของโรคมะเร็งปากมดลูก โดยแนวทางนั้นจะอยู่ภายใต้การประเมินผลตลอดเวลา เพื่อให้ทราบผลการวิจัยล่าสุด ข้อมูลการตรวจและวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แต่บางครั้งก็ยังเกิดข้อผิดพลาด เช่น การได้ข้อมูลในทางตรงกันข้าม หรือขัดแย้งกับความจริง นำไปสู่การเชื่อและนำไปปฏิบัติ

นอกจากนี้ National Cervical cancer Coalition (NCCC) และรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Congess) ได้กำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนของการพูดถึง “โรคมะเร็งปากมดลูก โรคติดเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus disease ; HPV disease) และความสำคัญที่ต้องตรวจพบโรคให้เร็วที่สุด”

โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันและรักษาได้

1.โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันและรักษาได้

โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นกับเพศหญิงนั้นมีอยู่ 5 ประเภทหลักๆ ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด โดยมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ง่ายที่สุดด้วยการตรวจคัดกรองและติดตามผลเป็นประจำ และแน่นอนว่า “เมื่อตรวจพบและเริ่มรักษาไว ก็มีโอกาสที่จะรักษาให้หายได้สูง” เพราะผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก แต่ส่วนใหญ่จะปรากฏออกมาในช่วยวัยกลางคน หรืออายุประมาณ 35 – 55 ปี

จากการรายงานในแต่ละปีของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention ; CDC) ชี้ให้เห็นว่า ผู้หญิงอเมริกันประมาณ 12,000 คนที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก มักจะไม่พบในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และประมาณ 20% ตรวจพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป รวมถึงความแตกต่างทางเชื้อชาติก็มีผลต่ออัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โดยเชื้อชาติที่ตรวจพบมากที่สุดในกลุ่มฮีสแปนิก (Hispanic) หรือกลุ่มคนที่ใช้ภาษาสเปน และมีอัตราการเสียชีวิตเกิดขึ้นมากที่สุดในผู้หญิงที่มีผิวดำ ซึ่งมากกว่าในผู้หญิงผิวขาวถึง 2 เท่า

มะเร็งปากมดลูกกับเชื้อไวรัสเอชพีวี

2.มะเร็งปากมดลูกกับเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV)

Wyand กล่าวว่า “โรคมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเอชพีวีที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถึง 90% โดยหากเริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือมีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ก็จะมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัสสูง” ในขณะที่ CDC ให้การรายงานว่า “อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของการมีเพศสัมพันธ์ ผู้หญิงมีโอกาสที่จะติดเชื่อไวรัสเอชพีวีได้ แต่มีแค่ไม่กี่คนที่จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก”

Wyand ยังออกมาอธิบายอีกว่า เชื้อไวรัสที่ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคมะเร็งก็คือไวรัสเอชพีวี ซึ่งไวรัสเอชพีวีมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ และมากกว่า 70% ของสายพันธุ์ที่นำมาสู่ความเสี่ยงก็คือ ไวรัสเอชพีวี – 16 (HPV-16) และไวรัสเอชพีวี – 18 (HPV-18) โดยส่วนใหญ่แล้วเชื้อไวรัสเอชพีวีจะสามารถหายไปเองได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆกับร่างกาย แต่ในความจริงแล้ว ประมาณ 90% เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี จะไม่สามารถตรวจพบได้ภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งนอกจากเชื้อไวรัสเอชพีวีแล้ว ACS ยังชี้ให้เห็นว่า การสูบบุหรี่ การตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย วิธีการบริโภคอาหาร การใช้ยาคุมกำเนิด และการที่คนในครอบครัวเคยมีการติดเชื้อมาก่อน ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกเช่นกัน โดย Wyand ได้กล่าวว่า “การไม่สูบบุหรี่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถตอบสนองต่อการติดเชื้อได้ง่าย” รวมถึงการศึกษาอื่นที่ได้มีการเพิ่มเติมถึงการเป็นโรคหนองในเทียมที่ไม่ได้รับการรักษา และการติดเชื้อ HPV ชนิดก่อมะเร็ง (Oncogenic) สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย

จากการศึกษาในปีค.ศ. 2008 พบว่าการบริโภคอาหารที่มีใยอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และการบริโภคผัก ผลไม้ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 40 – 60% โดยกุญแจสำคัญของการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกก็คือการตรวจคัดกรองโรคอย่างเหมาะสม

การตรวจโรค มะเร็งปากมดลูก

3.การตรวจโรค

Wyand กล่าวว่า “ในขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงเซลล์ระยะก่อนเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกจะยังไม่มีการแสดงอาการออกมา แต่จะแสดงอาการออกมาเมื่อมีระยะของโรคที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด รู้สึกเจ็บเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หรือมีอาการปวดที่ไม่ใช่การปวดประจำเดือน มีตกขาว ปัสสาวะบ่อยขึ้น หรือเจ็บขณะปัสสาวะ แต่อาการเหล่านี้ก็อาจเป็นเพียงสัญญาณเตือนถึงปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตาม หากมีอาการอย่างที่กล่าวมา ก็ควรที่จะเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ” โรคมะเร็งปากมดลูกนั้นสามารถตรวจพบได้ยาก ดังนั้นจะแนะนำว่าให้ตรวจ Pap test และ HPV test อย่างสม่ำเสมอ

Pap test หรือ Smear pap เป็นการตรวจภายในเพื่อหามะเร็งปากมดลูกด้วยการเก็บตัวอย่างเซลล์จากผิวปากมดลูก และช่องคลอดเพื่อดูความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกที่อาจนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนี้แพทย์ยังสามารถเก็บตัวอย่างของเหลวรอบปากมดลูกเพื่อตรวจหาโรคหนองในแท้ และโรคหนองในเทียมได้อีกด้วย ส่วน HPV test จะเป็นการตรวจเพื่อหาเชื้อไวรัสกลุ่มเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกอย่างเชื้อไวรัส HPV ซึ่งการตรวจทั้ง 2 ประเภทมักจะมีการทำไปพร้อมๆกัน โดยการตรวจ Pap test สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 21 ปี ไปจนถึงอายุ 65 ปี และมีควรเข้ารับการตรวจทุกๆ 3 ปี

Wyand กล่าวว่า “ผู้หญิงเป็นเพศที่มีการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และรุนแรงมากกว่าผู้ชาย และสำหรับในที่นี้ อาจส่งผลกระทบให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ภาวะมีบุตรยาก ท้องนอกมดลูก ปวดท้องน้อย และโรคมะเร็ง”

วัคซีน HPV มะเร็งปากมดลูก

4.วัคซีน HPV

  1. Gardasil เป็นวัคซีนที่สามารถใช้ได้กับทั้งเพศชาย และเพศหญิง ซึ่งจากข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่า วัคซีน Gardasil สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งต่ำอย่าง HPV-6 และ HPV-11 ได้เกือบ 100%
  2. Cervarix เป็นวัคซีนที่ใช้ในเฉพาะเพศหญิง โดยมีคุณสมบัติเหมือนกับวัคซีน Gardasil และเพิ่มการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้สูงด้วย
  3. Gardasil 9 ได้รับการอนุมัติในเดือนธันวาคม ปีค.ศ. 2014 ซึ่งมีความครอบคลุมเชื้อไวรัส HPV 9 ชนิด ได้แก่ HPV-6 และ HPV-11 ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งต่ำที่เป็นสาเหตุของการเกิดหูดที่อวัยวะเพศ HPV-16 HPV-18 HPV-31 HPV-33 HPV-45 HPV-52 และ HPV-58 ที่พบใน 90% ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกทั่วโลก รวมถึงมะเร็งทวารหนัก มะเร็งปากช่องคลอด และมะเร็งช่องคลอด
  4. CDC ได้แนะนำให้ทำการฉีดวัคซีน HVP ทั้งหมด 3 ครั้ง โดยครั้งแรกตอนอายุ 11 หรือ 12 ปี เพราะร่างกายของเด็กจะมีโอกาสในการสร้างภูมิคุ้มกันก่อนที่จะมีกิจกรรมทางเพศ

การวางแผน มะเร็งปากมดลูก

5. การวางแผน

อุปสรรค์ในการให้วัคซีน HVP จากการสังเกตของผู้ให้บริการ ได้แก่ ความกังวลของผู้ปกครอง ค่าใช้จ่าย และวัคซีนไม่มีความจำเป็นกับเพศชาย ซึ่งการแก้ปัญหาอาจทำได้ด้วยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและผู้ให้บริการ รวมถึงการผลักดันให้การฉีดวัคซีนเป็นเสมือนสิ่งหนึ่งที่ต้องทำในชีวิตวัยรุ่น ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และผู้หญิงทุกคนควรที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ ทั้งการตรวจหาโรคและการฉีดวัคซีน เพราะผู้หญิงที่มีความเสี่ยงที่สุดต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ก็คือผู้หญิงที่ยังไม่ได้รับการป้องกันจากเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้