อาการของการตั้งครรภ์ : 11 อาการที่บ่งบอกว่าเริ่มตั้งครรภ์
ประจำเดือนยังไม่มาสักที แบบนี้คือตั้งครรภ์หรือเปล่า
คุณตั้งครรภ์หรือเปล่า?
การสังเกตว่าคุณเริ่มมีการตั้งครรภ์ อาจเริ่มสังเกตได้จากการที่ประจำเดือนของคุณขาดไป 1 – 2 สัปดาห์จากรอบเดือนปกติ ซึ่งประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงมักจะแสดงอาการออกมา 6 สัปดาห์ต่อเนื่อง และประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์จะมีแสดงอาการ 8 สัปดาห์ต่อเนื่องหากคุณไม่ได้มีการนับรอบเดือน หรือโดยปกติแล้วรอบเดือนจะแตกต่างกันออกไป อาจทำให้ไม่แน่ใจถึงวันที่แน่นอนได้ แต่ถ้าคุณเริ่มรู้สึกว่ามีอาการของการตั้งครรภ์ และประจำเดือนยังไม่มาสักที นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณได้เริ่มตั้งครรภ์แล้ว
การตรวจสอบการตั้งครรภ์ที่บ้านเป็นขั้นตอนถัดไปที่จะต้องทำ และหากคุณกำลังเริ่มตั้งครรภ์ ลองมาดูกันว่าอาการของคนเริ่มตั้งครรภ์นั้นมีอะไรบ้าง
เบื่ออาหาร
ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะรู้สึกเหม็นกลิ่นอาหาร โดยอาการนี้อาจเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนเอสโตรเจน และในขณะเดียวกัน คุณอาจจะอยากกินอาหารที่คุณเคยไม่ชอบด้วย
อารมณ์แปรปรวน
เป็นเรื่องปกติที่ผู้ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์จะมีอารมณ์แปรปรวน โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายที่ส่งผลต่อสารสื่อประสาท ซึ่งแต่ละคนจะมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกัน บางคนอาจมีทั้งอารมณ์ดีและไม่ดี ขณะที่บางคนอาจจะรู้สึกหดหู่หรือเป็นกังวลแต่หากคุณรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง หรืออยากทำร้ายตัวเอง ให้คุณลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ท้องอืดท้องเฟ้อ
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงเริ่มตั้งครรภ์อาจทำให้คุณรู้สึกท้องอืด ความรู้สึกจะคล้ายๆกับตอนที่กำลังจะมีประจำเดือน เป็นสาเหตุที่เมื่อคุณใส่เสื้อผ้าแล้วรู้สึกแน่นช่วงเอวมากกว่าปกติ แม้ว่าขนาดของมดลูกจะยังเล็กอยู่ก็ตาม
ปัสสาวะบ่อย
ไม่นานหลังจากที่คุณเริ่มตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เลือดไหลเวียนผ่านไปยังบริเวณไตมากขึ้น ส่งผลให้คุณรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อย และคุณจะปัสสาวะบ่อยขึ้นตามการเจริญเติบโตของครรภ์
ในขณะตั้งครรภ์ปริมาณของเลือดจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ของเหลวปริมาณมากเกิดการเปลี่ยนแปลงและสุดท้ายจะไปรวมกันที่กระเพาะปัสสาวะ โดยการที่ปวดปัสสาวะบ่อยเป็นผลกระทบส่วนหนึ่งจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ที่ทำให้เกิดการกดที่กระเพาะปัสสาวะมาขึ้น
อ่อนเพลีย
ไม่มีใครรู้ถึงสาเหตุที่แน่ชัดของอาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นจากการเริ่มตั้งครรภ์ แต่อาจเป็นไปได้ว่าการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของฮอร์โมนโปเจสเตอโรนส่งผลให้คุณรู้สึกง่วงนอน และแน่นอนว่าอาการแพ้ท้องและการที่ต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยๆในช่วงกลางคืน ก็ช่วยเพิ่มอาการอ่อนเพลียและความเกียจคร้านได้เช่นกัน
คุณจะรู้สึกว่ามีพลังงานมากขึ้นในช่วงที่ 2 ของการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะมีอาการเมื่อยล้าที่ต้องแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้น จนทำให้เกิดความไม่สบายตัวและนอนหลับได้ยาก
เจ็บหน้าอก
อีกหนึ่งอาการของผู้ที่ตั้งครรภ์คือการที่หน้าอกจะบวมเต่งและมีความบอบบางขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน โดยอาจมีความรู้สึกเหมือนกับช่วงก่อนมีประจำเดือน และคุณจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อพ้นช่วงแรกไป เพราะร่างกายได้มีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
มีเลือดออกเล็กน้อย
อาจจะดูขัดกับที่คิด เพราะถ้าคุณต้องการที่จะตั้งครรภ์ สิ่งที่คุณไม่อยากเห็นที่สุดก็คือการตกเลือด แต่ถ้าคุณพบว่ามีเลือดออกเล็กน้อยในช่วงรอบเดือนปกติ นั่นอาจเป็นเลือดที่หลงเหลืออยู่จากการฝังตัวของไข่ลงในมดลูก
จาก 1 ใน 4 ของผู้หญิงจะพบว่ามีเลือดออกในช่วงแรก แต่บางครั้งการมีเลือดออกก็เป็นสัญญาณของการแท้งหรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก ดังนั้นหากคุณมีเลือดออกร่วมกับอาการเจ็บปวด ให้คุณเข้าพบแพทย์ทันที
คลื่นไส้
สำหรับผู้หญิงบางคนอาจจะไม่มีอาการแพ้ท้องจนตั้งครรภ์ไปแล้ว 1 – 2 สัปดาห์ แต่บางคนก็มีอาการตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งตอนเช้า กลางวัน หรือว่าตอนเย็น
ส่วนใหญ่อาการคลื่นไส้จะเริ่มดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงที่ 2 ของการตั้งครรภ์ หรือบางคนอาจจะยาวนานกว่านั้น แต่ถ้าโชคดีหน่อย คุณก็อาจจะไม่มีอาการแพ้ท้องเกิดขึ้น
ประจำเดือนไม่มา
ถ้าประจำเดือนของคุณไม่มาในรอบเดือนปกติ คุณก็อาจจะตัดสินใจที่จะตรวจสอบการตั้งครรภ์ แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจเพราะปกติแล้วประจำเดือนของคุณไม่ได้มาอย่างสม่ำเสมอ หรือมาไม่ตรงรอบกันในแต่ละเดือน แล้วมีอาการคลื่นไส้ เต้านมมีความอ่อนนุ่ม และเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีการตั้งครรภ์ได้
อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
ถ้าระดับอุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นจากปกติต่อเนื่องกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ก็สามารถแสดงถึงการตั้งครรภ์ได้
ผลทดสอบการตั้งครรภ์
บางครั้งผลการทดสอบการตั้งครรภ์ที่บ้านด้วยที่ตรวจครรภ์ก็อาจจะไม่น่าเชื่อถือเท่าการที่ประจำเดือนไม่มาตามหลังจากรอบปกติไปแล้ว 1 สัปดาห์ ดังนั้นหากคุณทดสอบแล้วยังให้ผลเป็นลบ ให้ลองทดสอบอีกครั้งภายใน 2 – 3 วันถัดไป และอย่าลืมว่าทารกนั้นมีการพัฒนามาก่อนที่จะมีสัญญาณบอกว่าคุณมีการตั้งครรภ์ ดังนั้นคุณจึงควรที่จะดูแลสุขภาพของตนเองก่อนที่จะตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ หรือมีอาการแพ้ท้อง
เมื่อคุณตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ คุณควรที่จะนัดพบแพทย์เพื่อติดตามการพัฒนาของทารกในแต่ละสัปดาห์