เรื่องควรรู้ที่เกี่ยวกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เรื่องควรรู้ที่เกี่ยวกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ----feat

สปสช. (Nationnal Health Security Office ; NHSO) หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ และจัดหาบริการที่มีคุณภาพให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน

เกี่ยวกับ สปสช.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ : องค์การมหาชนของรัฐที่กำหนดขึ้นเพื่อทำบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2545 ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในองค์กรสาธารณะของศตวรรษที่ 21 ที่กำหนดขึ้นเพื่อทำบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ และมีพื้นฐานความรู้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาความยั่งยืนของประเทศ ด้วยการสร้างหลักประกันสุขภาพขึ้นมาให้กับประชาชนไทย ดังนั้น “ประชาชนไทยทุกคน จะต้องรู้สึกถึงความปลอดภัย ว่าจะป่วยหรือไม่ก็ตาม”สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ขับเคลื่อนระบบการดูแลสุขภาพภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่จะช่วยในการพัฒนาระบบการบริการให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อมูล พัฒนาระบบตรวจสอบการบริการสุขภาพ และให้ประชาชนมีอิสระในการเลือกเข้ารับบริการจากสถานที่ที่สะดวกได้ตามความสมัครใจ

เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ

เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

1.ใช้ระบบการจัดการผลลัพธ์

2.จัดทำแผนยุทธศาสตร์และการดำเนินงาน เพื่อกำหนดตัวชี้วัดในทุกระดับ

3.สร้างระบบตรวจสอบภายในที่ทันสมัย

4.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานและการบริการสาธารณะ

เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสาธารณะ

1.พัฒนาระบบบริหารงานให้สามารถตอบสนองต่อสาธารณชนได้มากขึ้น

2.เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม และสนับสนุนให้มีอาสาสมัครทำงานร่วมกับองค์กร

3.เผยแพร่ผลงานและข้อมูลขององค์กรที่จำเป็นต่อสาธารณะด้วยความโปร่งใส ผ่านเว็บไซต์และช่องทางอื่นๆ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชน

เป็นองค์กรที่มีการเรียนรู้

1.มีระบบการจัดการที่รองรับความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของสังคม

2.พัฒนาการเชื่อมต่อของระบบการจัดการ

3.ค้นหาทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ และพัฒนาให้มีวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกับองค์กร

4.สร้างวัฒนธรรมฐานความรู้ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดการเปลี่ยนกระบวนการคิดของอาสาสมัคร

ความมั่นคงทางสุขภาพ

ความมั่นคงทางสุขภาพ

สุขภาพเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ใช้ในการประเมินคุณภาพชีวิตหลักประกันสุขภาพเป็นระบบความมั่นคงในชีวิต ที่จะทำให้มีความเชื่อมั่นว่าสามารถที่จะมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการรักษาโรคได้ โดยประชาชนควรที่จะสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้เมื่อต้องการ

ความเท่าเทียมด้านสุขภาพ

ความเท่าเทียมด้านสุขภาพจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ บุคคลที่มีความแตกต่างทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมมีโอกาสเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่เท่าเทียมกัน เนื่องจากว่าแต่ละคนมีความสามารถที่จะจ่ายได้ไม่เท่ากันความเท่าเทียมด้านสุขภาพจะสามารถเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มีการแจกจ่ายทรัพยากรทางสุขภาพออกไป โดยจะต้องคำนึงถึงการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้คนในพื้นที่ต่าง ๆ ที่เท่าเทียมกัน

สุขภาพ เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2546 ได้ประกาศว่า “สุขภาพ” เป็น “สิทธิ” ขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐควรให้คำว่า “สากล” หมายถึง ปรัชญาขั้นพื้นฐานภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งประชาชนไทยทุกคนควรมีสิทธิที่จะได้รับโดยทั่วกันการให้บริการควรตั้งอยู่บนการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไทยอย่างเท่าเทียมกัน

ความเท่าเทียมด้านสุขภาพ

การจัดการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งช่าง หรือ สปสช. จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติความมั่นคงทางสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพ

บริการสุขภาพ

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่ออกนโยบายและพัฒนาระบบต่าง ๆ ทั้งสวัสดิการ มาตรฐานการบริการด้านการดูแลสุขภาพ การจัดตั้งกองทุน และการชดเชยตามกฎระเบียบ โดยตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติประกันความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2545 คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานร่วมกับสมาชิกจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง โดยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับมอบหมายให้เป็นเลขานุการคณะกรรมการ, คณะกรรมการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพการบริการสุขภาพ มีหน้าที่ในการควบคุม ติดตาม และสนับสนุนมาตรฐานและคุณภาพของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ นอกจากนี้คณะกรรมการทุกคนยังมีหน้าที่เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมในการรักษา ควบคุมการชดเชยค่าเสียหาย สนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลจากสาธารณะ และตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของผู้ใช้บริการ โดยสมาชิกคณะกรรมการจะประกอบไปด้วยหน่วยงานด้านการดูแลสุขภาพหลายหน่วย เช่น กรมการแพทย์, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองทะเบียนทางการแพทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีองค์กรวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านดูแลสุขภาพ หน่วยงานการแพทย์และสาธารณสุข การแพทย์แผนโบราณ การแพทย์ทางเลือก และองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ทำงานเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชศาสตร์ครอบครัวเขตร้อน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจิต และด้านยาแผนโบราณจำนวน 6 คนที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย

การพิจารณาปกครอง การตรวจสอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ

คณะกรรมการจะต้องมีการตรวจสอบระบบการดำเนินงานภายในอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการจัดการทางการเงินว่าถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับหรือไม่ ซึ่งจะมีรายงานประจำปีจะถูกส่งไปยังคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเป็นประจำทุกไตรมาสสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่เหมือนสำนักงานเลขานุการให้กับคณะกรรมการระดับชาติทั้ง 2 หน่วย เพื่อจัดการและช่วยให้มั่นใจว่าจะสามารถให้บริการได้ทั่วถึง การดำเนินงานภายในของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.)ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ สำนักงานใหญ่ และสำนักงานส่วนภูมิภาค โดยสำนักงานใหญ่จะประกอบไปด้วย 15 หน่วยงาน มีหน้าที่รับผิดชอบด้านนโยบาย การวางแผน และการสนับสนุน ตลอดจนการติดตามและการประเมินผล ส่วน 13 สำนักงานส่วนภูมิภาคมีหน้าที่บริหารและติดตามการจัดการกองทุนในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพในระดับท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละภูมิภาคจะมีประชาชนประมาณ 2.3 – 5 ล้านคน และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรมทางสุขภาพ

บริการสุขภาพ

คณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ

คณะกรรมการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพบริการสุขภาพ

ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติประกันความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2545 คณะกรรมการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพบริการสุขภาพ ประกอบไปด้วย

1. อธิบดีกรมการแพทย์, เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล และผู้อำนวยการกองทะเบียนเวชภัณฑ์

2.ตัวแทนจากสภาการแพทย์, ตัวแทนจากสภาการพยาบาลแห่งประเทศไทย, ตัวแทนจากสภาเภสัชกรรม และตัวแทนจากสมาคมกฎหมายแห่งประเทศไทย

3.ตัวแทนจากโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นสมาชิกของสมาคมโรงพยาบาลเอกชน

4.ตัวแทนจากเทศบาล, ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล และตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ได้รับการเลือกตั้งโดยผู้บริหารขององค์กร

5.ตัวแทนจากพยาบาลวิชาชีพ, ตัวแทนสูติแพทย์, ตัวแทนทันตแพทย์ และตัวแทนเภสัชกร

6.ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยการแพทย์เฉพาะทาง สาขาสูติศาสตร์และนรีเวช, วิทยาการผ่าตัด, เวชศาสตร์ภายใน และกุมารเวชศาสตร์

7.ตัวแทน 3 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากตัวแทนจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ, ตัวแทนจากสาขาวิชาแพทย์แผนโบราณ, สาขากายภาพบำบัด, เทคนิคทางการแพทย์, เทคโนโลยีรังสีบำบัด, อาชีวบำบัด, การรักษาโรคหัวใจและทรวงอก และสาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย

8.ตัวแทน 5 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากตัวแทนองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่มีการทำงานเกี่ยวกับกลุ่มต่างๆ ดังนี้ เด็กและเยาวชน, ผู้หญิง, ผู้สูงอายุ, ผู้มีความผิดปกติทางสุขภาพจิต, ผู้ติดเชื้อ HIV หรือโรคเรื่องรังอื่นๆ, ผู้ใช้แรงงาน, ชุมชน, เกษตรกร และกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล

9.ผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรี โดยตัวแทนแต่ละคนต้องเป็นผู้ทรงวุฒิในสาขาเวชศาสตร์เขตร้อน, ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพจิต และผู้ทรงคุณวุฒิแพทย์แผนไทย

10.เลขาธิการทั่วไป จะทำหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพบริการสุขภาพ

คณะกรรมการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพบริการสุขภาพมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

คณะกรรมการควบคุมมาตรฐานและคุณภาพบริการสุขภาพมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ควบคุมมาตรฐานและคุณภาพของหน่วยบริการสาธารณสุข และเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพ ตามมาตรา 45

2.ดูแลการให้บริการของหน่วยบริการสุขภาพให้มีมาตรฐานและมีคุณภาพ ตามมาตรา 5

3.กำหนดมาตรการ, ควบคุม และส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการสุขภาพ และเครือข่ายของหน่วยบริการสุขภาพ

4.เสนอราคามาตรฐาน เพื่อใช้ในการกำหนดค่ารักษาพยาบาลของโรคทุกโรคต่อคณะกรรมการ ตามมาตรา 46

5.กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการร้องเรียน ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิจากการให้บริการด้านสุขภาพ ทั้งขั้นตอนในการร้องเรียน และการช่วยเหลือ รวมถึงการกำหนดหน่วยร้องเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ร้องเรียน

6.รายงานผลการตรวจสอบ และการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของหน่วยบริการสุขภาพ และเครือข่ายของหน่วยดูแลสุขภาพแก่คณะกรรมการ รวมถึงแจ้งผลดังกล่าวแกหน่วยงานให้เกิดการปรับปรุงแก้ไข

7.ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและควบคุมหน่วยบริการสุขภาพ และเครือข่ายหน่วยบริการสุขภาพ

8.ชดเชยค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการให้บริการของหน่วยบริการสุขภาพ แต่หากผู้เสียหายไม่ร้องเรียนเข้ามาภายในระยะเวลาที่กำหนดตามหลักการและเงื่อนไขที่กำหนด ให้ถือเป็นโมฆะ

9.สนับสนุนการสร้างระบบการให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการเข้ารับบริการสุขภาพของประชาชน

10.ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ กฎหมายอื่นๆ หรือหน้าที่ที่คณะกรรมการกำหนด

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้