มะเร็งเต้านม เรื่องอันตรายร้ายแรงของผู้หญิง ที่ผู้หญิงควรต้องรู้

มะเร็งเต้านม-เรื่องอันตรายร้ายแรงของผู้หญิง-ที่ผู้หญิงควรต้องรู้---feat

ในแต่ละปีมีผู้หญิงมากกว่า 1 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเต้านมเสียชีวิตไปมากกว่าครึ่ง ซึ่งโรคมะเร็งเต้านมนับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดของผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเต้านมคืออะไร

โรคมะเร็งเต้านมคืออะไร

มะเร็งเต้านม เป็นความผิดปกติของเซลล์ในเต้านมที่มีหน้าที่ผลิตน้ำนม หรือท่อส่งน้ำนมไปยังหัวนม ที่ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตได้

ประเภทของมะเร็งเต้านม

การทราบประเภทของมะเร็งเต้านมเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกำหนดวิธีการรักษาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยวิธีที่ใช้มากที่สุดในการแบ่งประเภทของเนื้องอกที่เต้านม คือ การแบ่งประเภทตัวรับที่อยู่ที่ผิวเซลล์ (Cell surface receptors) ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen receptor ; ER) ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone receptor ; PR) และ โปรตีนที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของมะเร็ง (Human Epidermal Growth Factor Receptor 2-negative ; HER2-/neu)

ประเภทของมะเร็งเต้านมที่พบมากที่สุด คือ ตัวรับฮอร์โมนของมะเร็งเต้านมที่เป็นผลบวก (Hormone Receptor-Positive breast cancer) ซึ่งคิดเป็น 75% ของโรคมะเร็งเต้านมทั้งหมด การเจริญเติบโตของมะเร็งชนิดนี้จะตอบสนองต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน กรณีนี้ก็จะใช้การรักษาที่มุ่งยับยั้งการเจริญเติบโตของฮอร์โมน

ประเภทอื่นๆของมะเร็งเต้านม คือ โปรตีน HER2 ที่ให้ผลบวก (HER2-positive breast cancer) เป็นการที่เซลล์มีการผลิตโปรตีนออกมาในจำนวนที่มากเกินไป โดย 20 – 30% ของ Hormone Receptor-Positive breast cancer จะไม่มีการแสดงเนื้องอกออกมา

มะเร็งเต้านมแบบไตรโลปะ (Triple negative breast cancer ; TNBC) เป็นประเภทของมะเร็งเต้านมที่พบได้ยาก ซึ่งเป็นประเภทที่ย่อยออกมาจากโรคมะเร็งเต้านมชนิด HER2/neu (HER2-negative disease) หมายถึงเซลล์เนื้องอกที่ขาดตัวรับเอสโตรเจน โปรเจนเตอโรน และไม่พบโปรตีน HER2 มะเร็งประเภทนี้สามารถพบได้ 15% ของโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งมักจะมีความรุนแรงและรักษาได้ยากกว่า เพราะไม่มีการตอบสนองต่อการรักษาแบบมาตรฐาน ความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำการรักษาให้เร็วที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

  • อายุ มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • ครอบครัว ผู้หญิงที่มีคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งเต้านม จะมีโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น
  • ประวัติทางการแพทย์ ผู้หญิงที่เคยตรวจพบมะเร็งเต้านมแบบไม่ร้ายแรง (Benign breast cancer) มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเป็นมะเร็งเต้านมได้อีกในอนาคต
  • ตั้งครรภ์ครั้งแรกช้า ผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์ครั้งแรกหลังอายุ 35 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า
  • ร่างกายได้รับฮอร์โมนมากเกินไป โดยจะมีความเสี่ยงในผู้หญิงที่มีระยะการมีประจำเดือนในช่วงชีวิตที่นาน หรือมีการใช้ฮอร์โมนทดแทนในช่วงวัยหมดประจำเดือน
  • กิจวัตรประจำวัน เช่น ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน อยู่ในเกณฑ์อ้วนหรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน ไม่มีการออกกำลังกาย บริโภคอาหารที่มีไขมันสูง รวมถึงการบริโภคแอลกอฮอล์ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาสู่โรคมะเร็งเต้านม

อาการ และการวินิจฉัยโรค

อาการ และการวินิจฉัยโรค

ในระยะแรกของโรคมะเร็งเต้านม จะยังไม่สามารถตรวจพบอาการได้ ซึ่งสัญญาณเตือนของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่

  1. พบก้อนแข็งบริเวณเต้านม หรือรักแร้ มักจะไม่มีอาการเจ็บ และจะเกิดขึ้นที่ข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น
  2. เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง หรือขนาดของเต้านม ได้แก่ การเว้าแหว่งของเต้านม เกิดเส้นเลือดบนเต้านม หรือผิวหนังลอก
  3. ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง เช่น แข็ง เป็นรอยบุ๋ม เกิดตุ่ม แดงและร้อน หรือผิวมีลักษณะคล้ายเปลือกส้ม
  4. มีความเปลี่ยนแปลงของหัวนม เช่น หัวนมหดตัว มีการหลั่งของเหลวอย่างผิดปกติ หรือเกิดผื่นรอบบริเวณหัวนม

ระยะการเกิดมะเร็งเต้านม

ระยะการเกิดมะเร็งเต้านม

ในการแบ่งระยะของโรคมะเร็งจะแบ่งตามขนาดของเนื้องอก และการแพร่กระจายของมะเร็ง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ระบุวิธีการรักษาได้อย่างเฉพาะเจาะจง และมีประสิทธิภาพที่สุด

  • ระยะที่ 1 – เนื้องอกจะยังมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่แพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 2 – เนื้องอกมีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร และอาจมีการแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองใต้แขน
  • ระยะที่ 3 – เนื้องอกอาจมีการแพร่สู่ต่อมน้ำเหลืองเป็นกลุ่มก้อน หรือติดกับบริเวณใกล้เคียงอื่นๆ ซึ่งอาจแพร่เข้าสู่เนื้อเยื่อเต้านมโดยรอบ
  • ระยะที่ 4 – เนื้องอกมีการแพร่สู่อวัยวะอื่นๆในร่างกาย เช่น ปอด ตับ หรือกระดูก ซึ่งอาจเรียกว่า การลุกลามของมะเร็ง

นอกจากนี้ มะเร็งเต้านมยังสามารถแบ่งได้อีก 3 ระยะใหญ่ๆ ได้แก่

  • ระยะแรก (Early stage) จะเกิดที่เนื้อเยื่อไขมันของเต้านม
  • ระยะลุกลามเฉพาะที่ (Locally advanced) มีการแพร่ไปยังเนื้อเยื่อใต้ผนังหน้าอก
  • ระยะลุกลาม (Advanced / Metastatic) เนื้องอกมีการแพร่ไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย โดยประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม จะตรวจพบได้เมื่อมีการแพร่กระจายไปมากกว่าบริเวณของเนื้องอกเริ่มต้น

สถิติการเกิดโรค และการเสียชีวิต

สถิติทั่วโลก มีการตรวจพบผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่า 1 ล้านคนในทุกๆปี ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดของกลุ่มโรคมะเร็งในเพศหญิง และเป็นโรคที่นำมาสู่การเสียชีวิตมากกว่า 500,000 คนต่อปี

สถิติในยุโรป พบว่าผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม 400,000 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิต 120,000 คน โรคมะเร็งเต้านมพบได้บ่อยสุดในยุโรป โดยเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้หญิงชาวยุโรปถึง 17%

สถิติในอเมริกาเหนือ ในทุกๆปีจะตรวจพบผู้หญิง 200,000 คนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งปอด

การคาดคะเน

จากสถิติของโรคมะเร็งเต้านมพบว่า ผู้ป่วยมักสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยเฉลี่ยที่ 5 ปี ซึ่งผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมในระยะแรก มีโอกาสมีชีวิตอยู่ได้ 5 ปี ถึง 81% อย่างไรก็ตามโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้หญิง 35% ที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลามก็ยังสามารถมีอยู่ชีวิตอยู่ได้ถึง 5 ปี

มะเร็งเต้านม-อาการเริ่มแรก

การรักษา

การรักษาโรคมะเร็งเต้านมนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรค โดยวัดที่ขนาด ตำแหน่ง การแพร่กระจายของโรค และสุขภาพทางกายของผู้ป่วย ประเภทของการรักษาแบ่งออกเป็น การผ่าตัด รังสีบำบัด เคมีบำบัด การบำบัดด้วยฮอร์โมน และการรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจจะเป็นการรักษาแบบวิธีเดียว หรือรักษาหลายวิธีไปพร้อมๆกัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับระยะการเกิดโรค

การผ่าตัด (Surgery)

การรักษาด้วยการผ่าตัดจะใช้รักษากับผู้ป่วยที่ไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นของร่างกายเป็นหลัก และยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยในระยะลุกลามได้อีกด้วย โดยประเภทของการผ่าตัดจะแตกต่างกันออกไปตามปริมาณของเนื้องอก ลักษณะของเนื้องอก การแพร่กระจาย และความรู้สึกของผู้ป่วย

  • การผ่าตัดแบบเก็บรักษาเต้านม (Breast conserving therapy / Lumpectomy) เป็นการนำบริเวณที่เป็นมะเร็ง และเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆออก ในบางกรณีอาจมีการนำต่อมน้ำเหลืองออกมาด้วย ซึ่งจะให้ผลการรักษาเหมือนกันการผ่าตัดเต้านมแบบปกติ
  • การผ่าตัดแบบสงวนเต้า (Partial Mastectomy / Quadrantectomy) ใช้ในการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่มีขนาดใหญ่ออก (เมื่อเทียบขนาดกับการผ่าตัดแบบเก็บรักษาเต้านม)
  • การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด (Total Mastectomy) เป็นวิธีการที่สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมอีก โดยจะทำการนำเต้านมออกทั้งหมด แต่ไม่มีการนำต่อมน้ำเหลืองออก

รังสีบำบัด (Radiotherapy)

วิธีนี้มักจะเป็นการรักษาเพิ่มเติมจากการผ่าตัด และเคมีบำบัดเพื่อลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งอีกครั้ง ซึ่งสามารถทำได้หลังการผ่าตัด หรือทำร่วมกับเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อให้เนื้องอกหดตัวลง นอกจากนี้การรักษาด้วยรังสีบำบัดยังสามารถช่วยบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามที่ไม่ได้รับการผ่าตัดได้

เคมีบำบัด (Chemotherapy)

อาจมีการรักษาด้วยเคมีบำบัดก่อนที่จะทำการผ่าตัด เพื่อลดขนาดของเนื้องอกให้สามารถผ่าตัดได้อย่างครอบคลุม หรืออาจทำหลังการผ่าตัดเพื่อลดโอกาสการกลับมาของโรคมะเร็ง และเมื่อเซลล์มะเร็งได้แพร่เข้าสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย การทำเคมีบำบัดอาจใช้ได้ในการช่วยลดอาการ ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยยืดระยะเวลาในการมีชีวิตรอด โดยการรักษาสามารถทำได้โดยการฉีดยาเข้าสู่เส้นเลือดดำ หรือการบริโภคเป็นยาเม็ด ซึ่งการรักษาด้วยเคมีบำบัดอาจมีผลข้างเคียงตามมา เช่น เมื่อยล้า เวียนหัว คลื่นไส้ หรือท้องร่วง

การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal therapy)

ตัวยาจะทำการกั้น หรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งวิธีนี้มักจะใช้ในการช่วยรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากตัวรับฮอร์โมนของมะเร็งเต้านมที่เป็นผลบวก (Hormone Receptor-Positive breast cancer)

การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy)

หรือเรียกว่า ชีวบำบัด (Biological therapies) เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งแบบใหม่ที่จะรักษาแบบเฉพาะจุดที่มีการเจริญเติบโตของเนื้องอกสามารถทำได้โดย การใช้โมโนโคลนอล แอนติบอดี (Monoclonal antibody) การฉีดวัคซีน และยีนบำบัด (Gene therapies) การรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยให้รักษาได้ตรงเป้าหมายของมะเร็ง ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ โดยการรักษาจะทำหลังการทำเคมีบำบัด หรือทำร่วมกับการรักษาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง

การรักษา

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้