สัญญาณเตือน และการรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

สัญญาณเตือน-และการรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก----feat

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นที่อวัยวะสืบพันธ์เพศหญิงที่พบมากที่สุด โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทที่ 1 จะพบได้มาก มีการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งอย่างช้าๆ มักพบแค่เฉพาะที่ด้านในมดลูก ส่วนประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่เกิดขึ้นได้น้อย แต่จะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะกระจายออกไปยังส่วนอื่นของร่างกาย

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมักจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเกินไป ซึ่งทำให้มดลูกมีความหนาเพิ่มมากขึ้น และในบริเวณที่มีความหนาอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดเนื้อเยื่อที่เรียกว่าเนื้องอก (Tumor) ขึ้นมา นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้อีกด้วย

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดขึ้นได้อย่างไร

ระยะก่อนมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกแบบแรกเริ่ม (Endometrial intraepithelial neoplasia ; EIN)

ระยะก่อนมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกแบบแรกเริ่ม คือ ภาวะที่อาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกประเภทที่ 1 ซึ่งอยู่ในขั้นของการเจริญเติบโตของเยื่อบุผนังมดลูกที่หนาขึ้น และเปลี่ยนไปคล้ายกับเซลล์มะเร็ง รวมถึงการที่มีเลือดออกจากมดลูกอย่างผิดปกติ เป็นสัญญาณเตือนถึงระยะก่อนมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกแบบแรกเริ่ม โดยหากตรวจพบและได้ทำการรักษาในระยะนี้ ก็จะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้

ระยะก่อนมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

1.อายุ

โดยส่วนมากจะมีการตรวจพบมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

2.ระดับฮอร์โมน

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในผู้หญิงเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยหากมีการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมา แต่ไม่มีการหลั่งฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนออกมามากเพียงพอ ก็จะสามารถทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกก่อตัวหนาขึ้น อาจส่งผลให้รอบเดือนมาไม่ปกติในช่วงก่อนหมดประจำเดือน และช่วงหมดประจำเดือน รวมถึงยังอาจทำให้พบความผิดปกติทางการแพทย์อื่นๆ เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome ; PCOS) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่มีมดลูก และมีการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อรักษาอาการวัยหมดประจำเดือน

3.ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน

เมื่อทำการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index ; BMI) แล้วมีค่าตั้งแต่ 25 ขึ้นไป จะจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และยิ่งมีค่า BMI มากขึ้นเท่าไหร่ ก็เท่ากับว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้นเท่านั้น

4.พันธุกรรม

โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Lynch syndrome) สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และโรคมะเร็งประเภทอื่นๆ เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง หรือกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรมที่ส่งต่อลงมาจากรุ่นสู่รุ่น

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

อาการของโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการของโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกตั้งแต่ในระยะแรกๆ โดยมักจะมีอาการเลือดออกจากมดลูกอย่างผิดปกติ ซึ่งสำหรับผู้หญิงที่ก่อนหมดประจำเดือนจะพบว่ามีความผิดปกติของรอบเดือน มีเลือดไหล หรือเป็นจุดๆระหว่างรอบเดือน ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยหมดประจำเดือนจะมีเลือดออกอย่างผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีอาการของโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่มีความรุนแรง ได้แก่ เจ็บกระดูกเชิงกราน ท้องอืด อิ่มง่าย และมีการเปลี่ยนแปลงนิสัยการขับถ่าย

อาการของโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ในปัจจุบันยังไม่เคยมีการตรวจพบโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในผู้หญิงที่ไม่มีอาการ ดังนั้นถ้าคุณอยู่ในวัยหมดประจำเดือนและพบการมีเลือดออกที่ผิดปกติก็เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการตรวจ โดยอันดับแรกอาจทำการตรวจคลื่นความถี่สูงทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasound) เพื่อเป็นการตรวจวัดความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก และขนาดของมดลูก และถ้าผลออกมาว่าเยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนามากกว่า 4 มิลลิเมตร ก็ต้องทำการตรวจในขั้นอื่นต่อไป

วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคเยื่อบุโพรงมดลูก คือ การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial biopsy) เป็นการนำชิ้นเนื้อตัวอย่างของเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) หรือการส่องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscopy)

แต่ถ้าคุณอยู่ในวัยก่อนหมดประจำเดือน แพทย์จะทำการพิจารณาอาการ อายุ และปัจจัยทางการแพทย์อื่นๆเพื่อตัดสินใจว่าจำเป็นต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อหรือไม่ ซึ่งการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงไม่สามารถใช้ตรวจหามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้กับผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน

การวินิจฉัยโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมักจะใช้การรักษาด้วยการผ่าตัด โดยระหว่างการผ่าตัดจะมีการนำมดลูก ปากมดลูก รังไข่และท่อนำไข่ทั้ง 2 ด้านออก นอกจากนี้ยังอาจต้องนำต่อมน้ำเหลืองและเนื้อเยื่ออื่นๆออกมาด้วย แล้วทำการตรวจหา นำส่วนที่เป็นมะเร็งออก และหลังการผ่าตัดจะเป็นช่วงที่รอดูความแน่นอนของการเกิดโรค เป็นช่วงที่แพทย์จะทำการตัดสินใจว่าต้องทำการรักษาใดๆเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น การทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือการฉายรังสี (Radiation therapy) ซึ่งระยะของมะเร็งจะแบ่งออกเป็นระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 5 ที่เป็นระยะที่มีความรุนแรงมากที่สุด และระยะต่างๆของมะเร็งจะมีผลต่อการรักษาและผลที่จะได้รับ

การรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การใช้ฮอร์โมนบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

การรักษาด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) เป็นทางเลือกสำหรับผู้หญิงที่ยังต้องการจะมีลูกอยู่ หรือสำหรับผู้หญิงที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ด้วยเหตุผลทางการแพทย์อื่นๆ ทางเลือกนี้จะแนะนำให้ผู้ที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้เท่านั้น

  • มีการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งช้า ซึ่งไม่สามารถออกมายังชั้นกล้ามเนื้อของมดลูกได้
  • ไม่มีเซลล์มะเร็งนอกมดลูก
  • มีสภาพร่างกายทั่วไปที่ดี และสามารถรับฮอร์โมนโปรเจสตินได้
  • เข้าใจถึงข้อจำกัดของผลที่จะได้

สำหรับผู้หญิงบางคน อาจทำการนำรังไข่ออกมาในขณะที่ทำการผ่าตัดเพื่อทำเด็กหลอดแก้ว (In vitro fertilization ; IVF) แต่ทางเลือกแต่ละอย่างอาจจะไม่ได้เหมาะสมกับทุกคน ดังนั้นจึงควรทำการปรึกษากับผู้ดูแลสุขภาพก่อน

การใช้ฮอร์โมนบำบัด มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

ผลที่ตามมาหลังการรักษา

หลังจากการรักษาโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก คุณควรที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่ามีสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม จาก 90% หลังการผ่าตัดของผู้ที่เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในระยะที่ 1 ยังไม่เคยพบสัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็นโรคมะเร็งอีกในระยะ 5 ปีหรือมากกว่านั้น และหลังการรักษาโรคแล้วยังต้องมีการดูแลสุขภาพให้ดี เพราะจากการศึกษาพบว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเยื่อบุผนังมดลูกประเภทที่ 1 จะมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเกิดโรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งการควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

  • ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Abnormal Uterine Bleeding) อาการที่มีเลือดออกจากมดลูกในระยะเวลาที่ไม่สม่ำเสมอ คลาดเคลื่อน และมีความผิดปกติของปริมาณเลือดที่ออกมาจากมดลูก
  • การระงับความรู้สึก (Anesthesia) เป็นการบรรเทาความปวดด้วยการทำให้ไม่รู้สึก
  • ดัชนีมวลกาย (Body mass index; BMI) การคำนวณหาระดับความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง โดยแบ่งเกณฑ์เป็น น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ น้ำหนักปกติ น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ และอ้วน
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการรักษาโรคมะเร็งด้วยยา
  • การตรวจชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial biopsy) คือขั้นตอนของการนำเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเล็กน้อย เพื่อนำมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial cancer) มะเร็งที่เกิดขึ้นในมดลูก
  • ระยะก่อนมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกแบบแรกเริ่ม (Endometrial intraepithelial neoplasia ; EIN) ช่วงอาการที่มีการแสดงก่อนที่จะเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยบริเวณมดลูกจะมีการเจริญเติบโตจนมีชั้นที่หนา
  • เยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) เนื้อเยื่อที่มดลูก
  • เอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนเพศหญิงที่ถูกผลิตจากรังไข่
  • ท่อนำไข่ (Fallopian Tubes) เป็นท่อที่เป็นทางการเคลื่อนตัวของไข่ จากรังไข่ไปยังมดลูก
  • พันธุกรรม (Gene) เป็นส่วนหนึ่งของ DNA ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาร่างกายของมนุษย์ และการควบคุมการทำงานของร่างกาย โดยพันธุกรรมจะสามารถส่งต่อผ่านสายเลือดจากรุ่นสู่รุ่น
  • ฮอร์โมน (Hormones) คือ สารที่ถูกผลิตจากเซลล์หรืออวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยฮอร์โมนมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเซลล์และอวัยวะต่างๆ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง
  • เด็กหลอดแก้ว (In vitro fertilization) เป็นขั้นตอนของการนำไข่ออกจากรังไข่ของผู้หญิง แล้วทำการปฏิสนธิกับอสุจิของเพศชายในห้องทดลอง และนำกลับเข้าไปฝังตัวในมดลูกของผู้หญิง เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์
  • โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Lynch syndrome) คือ สภาพของสารพันธุกรรมที่เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
  • วัยหมดประจำเดือน (Menopause) ช่วงวัยที่ผู้หญิงหยุดการมีประจำเดือน สังเกตได้จากการที่ไม่มีรอบเดือนในระยะเวลา 1 ปี
  • การกลายพันธุ์ (Mutation) เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรของพันธุกรรมที่ส่งต่อจากพ่อ-แม่สู่ลูก
  • รังไข่ (Ovaries) อวัยวะในระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิงที่ทำหน้าที่ในการตกไข่ และผลิตฮอร์โมน
  • วัยก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause) ช่วงวัยก่อนหมดประจำเดือน ซึ่งมักจะอยู่ในช่วงอายุ 45 – 55 ปี
  • ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome ; PCOS) มีลักษณะคือ มีการเจริญเติบโตของซีสต์ในรังไข่ พบว่ามีความผิดปกติของรอบเดือน และมีการเพิ่มระดับของฮอร์โมนในร่างกาย
  • โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนเพศหญิงที่ถูกผลิตจากรังไข่ มีหน้าที่ในการเตรียมมดลูกให้พร้อมแก่การตั้งครรภ์
  • โปรเจสติน (Progestin) หรือฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนสังเคราะห์ ที่มีความคล้ายกับฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นโดยธรรมชาติ
  • การฉายรังสี (Radiation therapy) เป็นการรักษาด้วยรังสีพลังงานสูง
  • ระยะ (Stage) สามารถอ้างอิงได้จากขนาดและขอบเขตของเนื้องอก ที่ทำให้เกิดการแพร่ของโรค
  • การตรวจคลื่นความถี่สูงทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasound) เป็นประเภทหนึ่งของการใช้คลื่นความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวนด์เพื่อใช้กับการตรวจช่องคลอด
  • เนื้องอก (Tumor) เซลล์ที่มีการเติบโต หรือเกิดขึ้นเป็นก้อน
  • มดลูก (Uterus) อวัยวะที่มีกล้ามเนื้อ อยู่ที่บริเวณเชิงกรานของเพศหญิง เป็นที่อยู่ของทารก และมีหน้าที่ในการเพิ่มการพัฒนาการของทารกขณะตั้งครรภ์
Facebook Comments

1 Comment

  1. สุกัญญา ผายกลาง บน 12/06/2017 ที่ 7:05 PM

    ใส่ห่วงคุมกำเนิดยุค้ะ.. แต่รุสึกเจบท้องหน่วงๆจุกๆมา3-4วันแร้วค้ะ. อยากรุ้สาเหตุว่าตัวเองเปนอะไร. #ช่วยบอกหน่อยค้ะ

ทิ้งข้อความไว้