เริ่มต้นการทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปากมดลูกให้มากยิ่งขึ้น

เริ่มต้นการทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปากมดลูกให้มากยิ่งขึ้น---feat

ปากมดลูกคืออะไร?

ปากมดลูก (cervix) อยู่บริเวณส่วนล่างของมดลูก (womb) ที่คาบเกี่ยวกับด้านบนของช่องคลอด (vagina) เล็กน้อย ช่องเป็นรูปกระสวยจากช่องคลอดไปถึงมดลูกเรียกว่าช่องมดลูก (cervical canal) โดยปกติช่องนี้จะถูกปิดอย่างแน่นแต่ประจำเดือนและน้ำอสุจิจะไหลผ่านได้ขณะที่มีเพศสัมพันธ์ และจะเปิดกว้างขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ พื้นผิวของมดลูกปกคลุมด้วยเซลล์ชนิดแบนแบบแผ่นโดยมีต่อมเล็กๆด้านในช่องมดลูกซึ่งเป็นตัวผลิตเมือก

ปากมดลูกคืออะไร

มะเร็งคืออะไร?

มะเร็งคือโรคของเซลล์ในร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์มีความผิดปกติและแบ่งตัวหรือเพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้

เนื้องอกคือก้อนเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่ถูกสร้างมาจากเซลล์มะเร็งและเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น โดยที่เนื้องอกนั้นเริ่มบุกเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบๆและอวัยวะในส่วนต่างๆของร่างกาย และจะเริ่มสร้างความเสียหายเมื่อเซลล์แตกตัวออกจากเนื้องอกชิ้นแรกที่จะเข้าไปในกระแสเลือดหรือท่อน้ำเหลืองส่งต่อไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เซลล์เล็กๆเหล่านี้สามารถเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นเนื้องอกขั้นที่2ตรงที่เดิมหรือส่วนอื่นของร่างกายได้ และเนื้องอกขั้น2นี้จะโตขึ้น เริ่มบุก และทำลายเนื้อเยื่อรอบๆ และแพร่กระจายอีกครั้ง

โรคมะเร็งบางชนิดร้ายแรงกว่าชนิดอื่นเพราะรักษาได้ง่ายกว่าโดยเฉพาะในระยะแรกๆ ฉะนั้นการวินิจฉัยโรคมะเร็งขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย แต่ผู้ป่วยทุกรายต้องตรวจหาประเภทของมะเร็ง ขนาดของก้อนเนื้อ และดูว่าได้กระจายไปในส่วนไหนของร่างกายบ้าง เพราะจะทำให้รักษาได้ตรงจุด

มะเร็งคืออะไร

มะเร็งปากมดลูกคืออะไร?

มะเร็งปากมดลูกมีอยู่2ประเภทหลัก คือ

  • Squamous cell cervical cancer ที่มีคนเป็นมากถึง 80-85% เป็นก้อนเนื้อร้ายที่พัฒนามาจากเซลล์หุ้มปากมดลูก
  • Adenocarcinoma cervical cancer เกิดจากการที่ต่อมเซลล์ที่เป็นตัวผลิตเมือกในช่องมดลูกกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
    ทั้ง2ประเภทสามารถรักษาได้ในวิธีที่คล้ายๆกัน

ใครมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก?

ส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงอายุ 30-40 ปี เป็นเคสที่หายากถ้าเกิดขึ้นกับผู้หญิงอายุต่ำกว่า 25 ปี ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับ 2 ของโรคที่ผู้หญิงไทยเป็นมากที่สุดรองจากมะเร็งเต้านม

มะเร็งปากมดลูกคืออะไร

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

ในการตรวจแต่ละครั้ง เซลล์จากปากมดลูกจะถูกนำไปส่องกล้องเพื่อดูความผิดปกติของเซลล์ โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าเซลล์เป็นปกติ มีบ้างที่จะพบเซลล์ผิดปกติหรือที่เรียกว่า dyskaryotic นอกจากนั้นการตรวจยังหาโรค HPV (Human Papilloma Virus) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย

เซลล์ที่ผิดปกติในปากมดลูกหรือcervical dyskaryosisไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่เป็นเซลล์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของเซลล์ที่มีลำดับดังนี้

  • Mild dyskaryosis คือการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของเซลล์ที่บางครั้งเรียกว่า CIN1
  • Moderate dyskaryosis หรือ CIN2 คือเซลล์ที่ผิดปกติ
  • Severe dyskaryosis หรือ CIN3 คือเซลล์ที่ผิดปกติมากแต่ยังไม่ใช่เซลล์มะเร็ง

โดยทั่วไปแล้วเซลล์ที่ผิดปกติหรือ dyskaryotic จะไม่พัฒนามาเป็นเซลล์มะเร็ง เพราะถ้าตรวจอีกครั้งในหลายเดือนต่อมาส่วนใหญ่จะพบว่าเซลล์ผิดปกตินี้กลับมาเป็นปกติ แต่บางเคสเซลล์ก็กลายเป็นเซลล์มะเร็งในหลายปีต่อมา

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก

อะไรคือสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก?

ปกติเซลล์มะเร็งเริ่มต้นจากหนึ่งเซลล์ที่ผิดปกติและเริ่มเพิ่มปริมาณอย่างควบคุมไม่ได้ แต่เซลล์มะเร็งปากมดลูกเริ่มจากเซลล์ที่ผิดปกติอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เซลล์ผิดปกติใช้เวลาหลายปีในการเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งและเริ่มเพิ่มจำนวนเป็นก้อนเนื้อร้าย หรือบางครั้งเกิดจากการติดเชื้อ HPV

อะไรคือสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

การติดเชื้อ HPV และมะเร็งปากมดลูก

เชื้อHPVมีหลายสายพันธุ์แต่ HPV 16 และ 18 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยเกิดจากการมีเพศสัมพันธุ์กับคนที่มีเชื้ออยู่แล้ว แต่การติดเชื้อจากคนที่มีโรค HPV อยู่แล้วอาจบอกได้ยากเพราะโรคนี้ไม่ได้มีอาการที่เด่นชัด ดังนั้นคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าคนที่คุณมีเพศสัมพันธุ์ด้วยมีเชื้อ HPV รึเปล่า

HPV 16 และ 18 มีผลกระทบต่อปากมดลูกทำให้มีโอกาสเปลี่ยนเป็นเซลล์ผิดปกติและใช้เวลาเป็นปีกว่าจะกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

9 ใน 10 ของการติดเชื้อ HPV จะหายไปจากร่างกายภายใน 2 ปี นั่นหมายถึงผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อ HPV สายพันธุ์นี้ไม่มีการพัฒนาเป็นโรคมะเร็ง

ปัจจุบันวัคซีน HPV จึงถูกแนะนำให้แก่เด็กผู้หญิงอายุ 12 ปีเพราะได้รับการทดสอบว่าวัคซีน HPV มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกสูง แต่จะได้ผลมากกว่าถ้าฉีดในเด็กผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธุ์เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่

แม้ว่าจะฉีดวัคซีนไปแล้วก็ควรตรวจสุขภาพเพื่อหาโรคมะเร็งปากมดลูกเพราะวัคซีนนี้ไม่ได้การันตี 100% ว่าป้องกันได้

ปัจจัยอื่นๆ

ปัจจัยอื่นๆที่เพิ่มความเสี่ยงการพัฒนาโรคมะเร็งปากมดลูกคือ

  • สูบบุหรี่ สารเคมีจากบุหรี่ที่เข้าไปในกระแสเลือดอาจส่งผลต่อเซลล์ในร่างกาย คนสูบบุหรี่มีโอกาสพัฒนาโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนที่ไม่สูบถึง 2 เท่า หรือถ้าสูบขณะที่เป็นโรค HPV จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นไปอีก
  • ภูมิต้านทานต่ำ เพราะระบบภูมิต้านทานทำงานได้ไม่ดีทำให้ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อ HPV ได้ทำให้มีโอกาสพัฒนาเซลล์เป็นเซลล์มะเร็งและเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในที่สุด
  • ผู้ที่ทานยาคุมกำเนิดเกิน 8 ปีเพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการเป็นมะเร็งปากมดลูก

การติดเชื้อ HPV และมะเร็งปากมดลูก

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก

อาจจะไม่มีอาการในช่วงแรกๆที่เนื้อร้ายยังมีขนาดเล็ก แต่เมื่อเนื้อร้ายนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้น อาการแรกที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เป็นคือเลือดออกจากช่องคลอดแบบผิดปกติ เช่น

  • เลือดออกระหว่างรอบประจำเดือน
  • เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธุ์
  • เลือดออกในวัยหมดประจำเดือน

นอกจากนั้นบางคนยังรู้สึกมีกลิ่นไม่พึงประสงค์จากช่องคลอดหรือเจ็บขณะมีเพศสัมพันธุ์

อาการที่ว่ามานี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นแต่ยังไงก็ควรปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อการรักษาที่ดีขึ้น ถ้าปล่อยไว้มะเร็งอาจลุกลามไปส่วนอื่นของร่างกายได้

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก

การวินิจฉัยและประเมินโรคมะเร็งปากมดลูก

ส่วนใหญ่แพทย์จะทำการทดสอบช่องคลอดว่ามีอาการที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ โดยที่คนไข้อาจรู้สึกว่าช่องคลอดผิดปกติ ถ้าแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก คนไข้จะถูกส่งไปตรวจผ่านการส่องกล้องคอลโปสโคป (colposcopy) ที่ขยายส่องช่องคลอดอย่างละเอียด

การประมาณการขยายและแพร่กระขายของโรคมะเร็งปากมดลูก

ถ้าคุณตรวจพบมะเร็งปากมดลูก การทดสอบต่อไปคือการตรวจพื้นที่ที่มะเร็งได้แพร่กระจาย เช่น การใช้ CT แสกน, MRI แสกน, X-ray หน้าอก, อัลตราซาวด์, ตรวจเลือด หรือการตรวจอื่นๆเพื่อหา

  • ขนาดของก้อนเนื้องอก
  • มะเร็งได้กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือหรือไม่
  • มะเร็งได้กระจายไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายหรือไม่

การตรวจชิ้นเนื้อแสดงให้เห็นระยะของมะเร็งและช่วยให้หมอแนะนำวิธีเยียวยารักษาได้ตรงจุดมากขึ้น

วิธีรักษามะเร็งปากมดลูก

วิธีรักษามะเร็งปากมดลูก

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกมีหลายวิธี เช่น การผ่าตัด รังสีบำบัด ยาเคมีบำบัด(คีโม) หรือรวมทั้ง3อย่างเข้าด้วยกัน การรักษาขึ้นอยู่กับผู้ป่วย ระยะของมะเร็ง พื้นที่ที่เชื้อมะเร็งได้กระจาย ความพร้อมของร่างกาย และแผนครอบครัวว่ากำลังจะมีลูกหรือไม่

การผ่าตัด

การตัดมดลูกและปากมดลูกออกถือเป็นวิธีรักษาที่ใช้กันทั่วไป ถ้ายังเป็นมะเร็งในระยะแรกและยังไม่แพร่กระจาย การผ่าตัดอย่างเดียวสามารถรักษาได้อย่างเด็ดขาด ในคนไข้บางรายที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะแรก การผ่าตัดแค่ปากมดลูกยังมีโอกาสมีลูกได้

แต่ถ้าเชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปส่วนอื่นๆของร่างกายแล้ว การผ่าตัดมดลูกก็ยังคงจำเป็นอยู่ แค่ต้องเพิ่มการรักษาส่วนอื่นๆที่เชื้อได้กระจาย เช่น กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้

แม้ว่าการผ่าตัดจะใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะสูงๆ แต่ก็ใช้ในการบรรเทาอาการได้

รังสีบำบัด

รังสีบำบัดคือการรักษาที่ใช้รังสีที่มีพลังงานสูงเพื่อโฟกัสไปที่เนื้อเยื่อมะเร็งอย่างตรงจุด ทำให้เซลล์มะเร็งตายและไม่ให้เพิ่มจำนวน การใช้รังสีบำบัดอย่างเดียวเหมาะกับผู้ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเท่านั้น ผู้ป่วยระยะแรกขึ้นไปอาจจะรักษาโดยการใช้รังสีบำบัดได้แต่ต้องเพิ่มการรักษาอย่างอื่นเข้าไปด้วย

การรักษาด้วยรังสีบำบัดสำหรับมะเร็งปากมดลูกมี2ประเภท คือภายในและภายนอก

  • รังสีบำบัดภายใน คือการวางแร่กัมมันตรังสีเล็กๆไว้ข้างก้อนเนื้อมะเร็งด้านในมดลูกในระยะเวลาสั้นๆ
  • รังสีบำบัดภายนอก คือการฉายแสงจากเครื่องตรงไปที่ก้อนเนื้อมะเร็ง ซึ่งใช้ได้ทั้งกับมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งอื่นๆทั่วไป

แม้ว่าการใช้รังสีบำบัดจะใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกในระยะสูงๆ แต่ก็ใช้ในการบรรเทาอาการได้

ยาเคมีบำบัดหรือคีโม

ยาเคมีบำบัดคือการรักษาโดยใช้ยาต้านมะเร็งที่จะไปฆ่าเซลล์มะเร็งและหยุดการเพิ่มจำนวน ส่วนใหญ่มักใช้ร่วมกับรังสีบำบักหรือการผ่าตัด

การพยากรณ์โรค

การพยากรณ์โรคเหมาะที่สุดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรกและยังไม่กระจาย การรักษาให้ผลดีถึง 80-90% สำหรับผู้ป่วยที่โรคมะเร็งได้แพร่กระจายแล้ว การรักษาให้หายมีโอกาสน้อยกว่าแต่ก็เป็นไปได้ หรือถ้ารักษาได้ไม่หายการผ่าตัด ทำรังสีบำบัด และคีโมจะช่วยเยียวยาการพัฒนาของโรคมะเร็ง

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้