15 เคล็ดลับ ช่วยลดความทรมานของอาการปวดหัวไมเกรน
1. วินิจฉัยให้ถูกวิธี
การวินิจฉัยไมเกรนไม่ได้ทำโดยการทดสอบ แต่โดยสิ่งที่คนไข้บอกกับหมอ ควรจะจำและอธิบายได้ว่าอาการเป็นยังไงเพราะการวินิจฉัยขึ้นอยู่กับประวัติการปวด
การปวดไมเกรนมีอยู่2แบบคือมีออร่าและไม่มีออร่า การปวดแบบมีออร่าทำให้ชาบริเวณแขน มือ และหน้า บางรายอาจพูดติดขัด คิดคำไม่ออก หรือมีแสงจ้า ตาพร่ามัวไปชั่วขณะ ซึ่งเป็นสัญญาเตือนล่วงหน้าว่ากำลังจะปวดหัวไมเกรนในอีกไม่ช้า
ส่วนผู้ป่วยไมเกรนแบบไม่มีออร่า นอกจากปวดหัวข้างเดียวแล้วประสาทยังรับรู้ไวกว่าปกติจากแสง เสียง และกลิ่น อาจรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน สายตาพร่ามัว ปวดคอ ทรงตัวไม่ค่อยได้ และอาจปวดหัวนานถึง4ชั่วโมงถึง3วัน
2. ให้ความรู้ตัวเอง
การเข้าใจไมเกรนและรู้วิธีการจัดการกับอาการป่วยนั้นสำคัญมาก เพราะไมเกรนไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยควรปรึกษาเภสัชหรือแพทย์ทั่วไป
3. จะปรึกษาแพทย์ว่ายังไงดี?
ผู้ป่วยหลายคนอาจจัดการกับไมเกรนอย่างง่ายๆด้วยยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน หรือพารา แต่ถ้ายาพวกนั้นช่วยไม่ได้ ถึงเวลาแล้วที่ต้องคุยกับหมอ เพราะมียาบางตัวที่ต้องมีใบสั่งยาเท่านั้นถึงจะซื้อได้
4. รู้ปัจจัยในการถูกกระตุ้นของตัวเอง
ทุกคนมีสิ่งกระตุ้นไม่เหมือนกัน อาจเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน หรืออาหาร เป็นต้น แม้จะยังหาสาเหตุแน่ชัดไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร ปัจจัยต่อไปนี้ก็ส่งผลให้ปวดไมเกรนได้
- จากการทดสอบพบว่า 50-60%ของผู้หญิงจะปวดหัวไมเกรนขณะมีประจำเดือน
- สภาพแวดล้อม เช่น แสงสว่างจ้า แสงแรงๆจากแดด หรือวันที่อากาศอับชื้น แสงฟลูออเรสเซนตหรือแสงประดิษฐ์ในห้าง เสียงดังๆจากเพลงหรือเครื่องจักรอาจเป็นตัวกระตุ้น
- การพักผ่อนหลังจากสัปดาห์ยุ่งๆ
- อาหารหลายอย่างนำไปสู่ไมเกรน เช่น ผงชูรส อาหารแปรรูปอย่างพิซซ่าและแกงกะหรี่ หรือแอลกอฮอล์ ไวน์แดง เป็นต้น
5. บันทึกอาการปวดหัว
สำคัญมากที่จะจดไว้ว่าพฤติกรรมไหนทำให้ปวดหัว วันนี้ปวดหัวแค่ไหน รักษายังไง ได้ผลดีมั้ย แล้วรุนแรงมากขึ้นจากการปวดครั้งก่อนรึเปล่า นอกจากจะทำให้รู้ตัวเองแล้วยังบอกหมอต่อได้อย่างละเอียดอีกด้วย
6. ทำทุกอย่างให้เป็นกิจลักษณะ
ไมเกรนชอบกิจวรรตประจำวัน ความสมดุล และทุกอย่างที่เป็นกิจลักษณะ ดังนั้นทานให้ตรงเวลา พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะๆ และรู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าให้เกิดไมเกรน
7. ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายช่วยให้ผ่อนคลายและมีคุณค่าทางการรักษาผ่านการปล่อยสารเอนโดรฟินที่ป้องกันไมเกรนไม่ให้กลับมา การออกกำลังกายควรใช้เวลาประมาณ 30นาทีและ 4-5วันต่อสัปดาห์ อย่าหักโหมมากเพราะมากเกินไปอาจทำให้ปวดหัวไมเกรนกลับมาได้
8. ตั้งรับให้พร้อม
การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไมเกรน วิธีป้องกัน และตั้งรับให้พร้อมเป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้ารู้ตัวว่าไมเกรนกำลังมาก็เตรียมการรักษาที่คิดว่าจะได้ผลให้พร้อม ยิ่งเข้าใจมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นผลดีต่อการรักษามากเท่านั้น
9. ข้อห้ามสำหรับไมเกรน
- อย่าประมาทกับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดไมเกรนเพราะมันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
- อย่าลืมพกยาติดตัวไว้ตลอดเวลา
- อย่ากินยาที่เป็นอันตรายมากเกินไป หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดโดยเฉพาะยาที่มีส่วนผสมของโคดีน (codeine)เป็นหลัก ไม่ว่าจากใบสั่งยาหรือหน้าเคาท์เตอร์ ไม่ควรกินยาแก้ปวดมากกว่า2วันต่ออาทิตย์
- อย่าประมาทกับการกินยา ทำตามที่แพทย์หรือใบกำกับยาสั่งเท่านั้น
10. ไมเกรนในเด็ก
ประมาณร้อยละ10ของเด็กปวดหัวไมเกรน คนไข้บางคนบอกว่ารู้สึกปวดหัวไมเกรนครั้งแรกตอนอายุ8-9ปี และเป็นธรรมดาที่เด็กผู้หญิงหรือวัยรุ่นจะเริ่มปวดหัวไมเกรน
ไมเกรนในเด็กอาจเกิดได้จากความตื่นเต้น การข้ามอาหารเช้า หรือการเล่นกีฬามากเกินไป แต่หลายคนที่นอนหลับไปแล้วจะกลับมาเป็นปกติในไม่กี่ชั่วโมง แต่เมื่อเด็กโตขึ้นอาการปวดก็จะเป็นแบบไมเกรนในผู้ใหญ่
11. โบทอกซ์ไม่ได้ใช้เพื่อความงามเท่านั้น
การฉีดโบทอกซ์เป็นวิธีรักษาผู้ป่วยไมเกรนเรื้อรังหรือผู้ที่ปวดหัวมากกว่า 15 วันต่อเดือน อาจจะไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้นแต่ทำให้จำนวนการปวดหัวในแต่ละเดือนน้อยลง
12. ไมเกรนคือการปวดบริเวณคอ
กล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณด้านบนของคออาจส่งผลไปถึงศีรษะเนื่องจากหลายปัจจัย เช่น บุคลิกภาพที่ไม่ดี หรืออาการปวดคอ
วิธีรักษาคือการปรับบุคลิกภาพและออกกำลังกายคอ การออกกำลังกายคอช่วยเรื่องการทรงตัวและผ่อนคลายกล้ามเนื้อและข้อต่อจากความแข็งตึง
13. การฝังเข็มและคลายความเครียด
เชื่อกันว่าการฝังเข็มช่วยให้หายทรมานจากไมเกรนได้ และจากงานวิจัยจากแคนาดาพบว่าการฝังเข็มช่วงลดวันปวดหัวจากไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกการศึกษาจากอังกฤษแนะนำว่าการฝังเข็ม10ชุดเป็นเวลา5-8สัปดาห์ช่วยบรรเทาอาการปวดกับคนไข้บางส่วน ความเครียดคือสิ่งสำคัญของไมเกรน ฉะนั้นควรฝึกควบคุมความเครียดในทุกๆวัน
อีกหนึ่งวิธีคือสติ อยู่กับปัจจุบัน อย่าไปคิดถึงอนาคตและอดีตมากจนเกินไป
14. ทานอาหารเสริม วิตามินและสมุนไพร
การทานอาหารเสริมเป็นวิธีรักษาที่ใช้ได้ในบางคน โดยเฉพาะวิตามินบี 2 ที่หาได้จากไข่ ถั่ว ผักใบ ผักสีเขียว และนม หรือแมกนีเซียม โคเอนไซม์คิวเทนที่ช่วยบรรเทาอาการปวด
15. ไมเกรนที่ทำงาน
พยายามลดความเครียดที่ทำงานโดยบริหารเวลาให้ดี พักบ้าง และอย่าตั้งเป้าหมายสูงเกินไปเพื่อลดความผิดหวัง ปรับบุคลิกภาพให้ดี หรือยืดเส้นยืดสายบ้างเพื่อหลีกเลี่ยงการปวดคอและไหล่