5 อย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน (Parkinson)

5-อย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน-(Parkinson)---feat

ในช่วงที่ทั่วโลกกำลังไว้อาลัยให้กับการจากไปอย่างน่าเศร้าของ Robin William นักแสดงชาวอเมริกันในวัย 63 ปี ภรรยาของเขาหรือ Susan Schneider ออกมาเปิดเผยว่าสามีของเขาจากไปด้วยโรคพาร์กินสันในระยะแรก

โรคพาร์กินสันคือโรคที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ประสาทในสมองผลิตโดพามีนหรือฮอร์โมนที่ส่งสัญญาณไปยังสมองให้ควบคุมการเคลื่อนไหวได้ไม่เพียงพอ โรคทางระบบประสาทนี้เกิดขึ้นบ่อยในอเมริกา จากสถิติในมูลนิธิพาร์กินสันพบว่ามีคนอเมริกันป่วยเป็นโรคพาร์กินสักมากถึง 50,000 – 60,000 คนต่อปี

5 อย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน (Parkinson)

ไม่ใช่แค่มีอาการสั่นเท่านั้น

หลายคนอาจรู้แล้วว่าเราจะสังเกตคนที่มีโรคพาร์กินสันได้จากอาการสั่นตามแขน มือ และขา แต่มันยังมีอีกหลายอาการที่บ่งบอกโรค บางคนอาจจะรู้สึกแขนขาตึง เคลื่อนไหวช้าลง และขาดสมดุล สถาบันโรคระบบประสาทให้ข้อมูลว่าอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียง 1 ข้างในช่วงแรก และจะกระจายไปอีกข้างในที่สุด

หลังจากที่พาร์กินสันเริ่มออกอาการ ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกมีปัญหาในการเดินและการสั่นที่รุนแรงขึ้น หรือบางคนที่ไม่ได้มีอาการสั่นมากก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ท้องผูก ลำบากเวลาพูดหรือกลืน และความเครียด เช่นเดียวกับWilliam ในขณะที่บางคนมีปัญหาแค่การสั่น มีอีกหลายคนที่ป่วยถึงขั้นพิการเลยก็ได้

 ไม่ใช่แค่มีอาการสั่นเท่านั้น พาร์กินสัน

โรคนี้เกิดขึ้นได้กับเด็กเช่นกัน

มูลนิธิพาร์กินสันในอเมริกาบอกว่าอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยพาร์กินสันคือ 62 ปี แต่บางคนพบโรคนี้ก่อนหน้านั้น Michael J. Fox วัย 53 ปีพบว่าเขาเป็นพาร์กินสันในเวลาใกล้วันคล้ายวันเกิดอายุ 30 ปี ในปี 1991 การพบโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 50 ปี เรียกว่าพาร์กินสันในคนอายุไม่มาก ซึ่งโรคนี้อาจจะพัฒนาช้ากว่าในผู้สูงอายุ แต่เห็นอาการได้ชัดเจน เช่น กล้ามเนื้อกระตุกบ่อย การเดินและยืนที่ผิดปกติ เป็นไปได้ยากที่โรคนี้จะเกิดขึ้นกับเด็กหรือวัยรุ่น

 โรคนี้เกิดขึ้นได้กับเด็กเช่นกัน พาร์กินสัน

ยากที่จะตรวจหาโรค

ยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐานสำหรับโรคพาร์กินสัน แต่นักวิจัยหลายคนดูจากการทดสอบของประสาทสมองและประวัติยาที่ผู้ป่วยได้รับ หรือหมออาจจะดูจากการแกว่งแขนที่ไม่สม่ำเสมอ การสั่นของแขนขาเวลาปล่อยและยืด และการทรงตัว แขนขาหรือคอตึง

 ยากที่จะตรวจหาโรค พาร์กินสัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ชัดเจน

โดยทั่วไปโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ยังไม่สามารถหาเหตุแน่ชัดว่าอะไรที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันแต่จากสถิติพบว่าเพียง 15-25% ของผู้ป่วยพาร์กินสันมีประวัติว่าคนในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคนี้

 ปัจจัยเสี่ยงที่ยังไม่ชัดเจน พาร์กินสัน

ไม่มีวิธีรักษา แต่สามารถจัดการกับมันได้

โรคพาร์กิคินสันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายได้ แต่มียาตัวนึงที่ช่วยได้ถึง 75% คือยา Levodopa ที่รวมกับยา Carbidopa ที่ช่วยบรรเทาความช้าในการเคลื่อนไหว แต่ผลข้างเคียงหลังจากใช้ไปนานๆคือ อาการ dyskinesias การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติหรืออาการยุกยิกนั่นเอง โดยหมอส่วนใหญ่แนะนำให้รักษาก่อนที่อาการจะบานปลาย

ไม่มีวิธีรักษา พาร์กินสัน

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้