7 เคล็ดลับลดความเสี่ยงโรคมะเร็งง่ายๆ ที่ใครก็สามารถทำได้
คุณกำลังกังวลเรื่องการป้องกันโรคมะเร็งอยู่รึเปล่า? ลองเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ทานอาหารเพื่อสุขภาพ ตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำ หรือป้องกันได้โดยทำตาม 7 ข้อนี้
1. ไม่สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นตัวการร้ายที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลายชนิดรวมถึง มะเร็งปอด ปาก คอ กล่องเสียง ตับอ่อน และไต หรือแม้ว่าจะไม่ได้สูบบุหรี่แต่ได้รับกลิ่นบุหรี่ก็สามารถทำให้เป็นมะเร็งปอดได้
หลีกเลี่ยงบุหรี่หรือหยุดสูบไปเลยคืออีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้นและป้องกันโรคมะเร็งได้ด้วย
2. กินอาหารเพื่อสุขภาพ
การทานอาหารเพื่อสุขภาพอาจไม่ได้ช่วยการันตีว่าจะหายจากโรคมะเร็งแต่อย่างน้อยก็ช่วยลดความเสี่ยง
- กินผักและผลไม้หรืออาหารที่มาจากพืชเยอะๆ เช่น ธัญพืชและถั่ว
- หลีกเลี่ยงโรคอ้วน โดยการกินให้น้อยลงและเลือกทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ
- ถ้าเลือกที่จะดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มในปริมาณที่พอดี เพราะแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้หลายส่วน เช่น เต้านม ลำไส้ใหญ่ ปอด ตับ และไต
- ลดเนื้อแปรรูป จากการทดสอบของกรมอนามัยเพื่อสุขภาพระดับโลก การลดเนื้อแปรรูปช่วยลดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้จริงๆ
3. ควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย
การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ถือเป็นการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม ต่อมลูกหมาก ปอด ลำไส้ใหญ่ และไต
การออกกำลังกายก็ช่วยได้เหมือนกัน ผู้ใหญ่ควรเต้นแอโรบิกอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายแบบหนัก 75นาทีต่อสัปดาห์
4. หลีกเลี่ยงแสงแดด
มะเร็งผิวหนังเป็นอีกหนึ่งประเภทของมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ โดยการ
- หลีกเลี่ยงแสงแดดตอนกลางวันหรือช่วง 10โมงถึง4โมงเย็น เพราะเป็นเวลาที่รังสีจากพระอาทิตย์แรงที่สุด
- อยู่ในที่ร่มให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือใส่แว่นกันแดดหรือหมวกปีกกว้างเพื่อช่วยบังแสง
- สวมใส่เสื้อผ้าไม่บางจนเกินไปเพราะแสงอาจลอดเข้ามาถึงผิวหนังได้ หรือเลือกใส่สีสว่างหรือเข้มเพื่อให้แสงสะท้านกลับมากกว่าผ้าสีพาสเทลหรือสีขาวซีด
- ใช้ครีมกันแดดเวลาออกไปข้างนอกและทาซ้ำๆเพื่อการปกป้องที่ดีกว่า
- ไม่ใช้แสงจากหลอดไฟUVเพราะอันตรายไม่ต่างจากแสงธรรมชาติ
5. ฉีดวัคซีน
การป้องกันโรคมะเร็งอาจหมายถึงการปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัส
โรคไวรัสตับอักเสบบีสามารถเพิ่มความเสี่ยงการพัฒนาเป็นโรคมะเร็งตับได้ ฉะนั้นผู้ใหญ่ทุกคนควรได้รับวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบบี โดยเฉพาะคนที่มีเพศสัมพันธุ์บ่อย คนที่ไม่ได้มีคู่สมรสแค่คนเดียวหรือคนที่มีเพศสัมพันธุ์กับคนเพศเดียวกัน
โรค HPV (Human Papilloma Virus) คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ชนิดหนึ่งที่นำไปสู่มะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งอื่นๆที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ โดยวัคซีนโรค HPV นี้แนะนำให้ฉีดกับเด็กทั้งผู้ชายและผู้หญิงในช่วงอายุ 11-12 ปี หรือผู้หญิงและผู้ชายอายุ 26 ปีที่ไม่ได้ฉีดตั้งแต่ตอนเด็ก
6. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
อีกหนึ่งทางเลือกในการป้องกันโรคมะเร็งคือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การติดเชื้อและการพัฒนาโรคมะเร็ง เช่น
มีเพศสัมพันธุ์แบบปลอดภัย จำกัดคู่นอนและใช้ถุงยางทุกครั้ง ยิ่งมีจำนวนคู่นอนมากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งเสี่ยงต่อการติดโรคจากเพศสัมพันธุ์ได้มากเท่านั้น ได้แก่ โรค HIV และ HPV คนที่มีโรคเอดส์มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งที่ทวาร ตับและปอดสูง ส่วนคนเป็นโรค HPVที่เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกแล้วยังเสี่ยงต่อโรคมะเร็งทวาร คอ แคมช่องคลอด และอวัยวะเพศได้อีกด้วย
อย่าใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น เพราะอาจนำไปสู่โรค HIV ไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบซีได้ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับได้
7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
การตรวจสุขภาพเป็นประจำและตรวจหาโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งผิวหนัง สำไส้ใหญ่ ปากมดลูก และเต้านม เพิ่มโอกาสในการพบโรคเร็วขึ้นและการรักษาที่เร็วกว่า รีบป้องกันตั้งแต่ตอนนี้ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป