Check-Up Checklist : สิ่งที่ควรทำก่อนการตรวจสุขภาพครั้งต่อไป
เมื่อคุณทำการนัดกับผู้เชียวชาญด้านสุขภาพ คุณได้อ่านคำแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับการตรวจสุขภาพหรือไม่ แล้วได้ทำตามคำแนะนำหรือเปล่า แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ไม่เคยทำ ดังนั้นก่อนที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพในครั้งต่อไป ให้คุณตรวจสอบตัวเองว่าได้ปฏิบัติตาม 4 ข้อดังต่อไปนี้หรือยัง
สิ่งที่ควรทำก่อนการตรวจสุขภาพ
1.ทบทวนประวัติสุขภาพของครอบครัว
ให้คุณตรวจสอบว่าปัจจุบัน หรือไม่นานมานี้คนในครอบครัว และญาติสนิทเกิดโรคหรือความผิดปกติอะไรหรือไม่ ถ้ามีคุณจะต้องบอกให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทราบ เพราะประวัติของคนในครอบครัวอาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวาน หรือโรคมะเร็ง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะประเมินความเสี่ยงของโรคตามประวัติของครอบครัวร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ จากนั้นผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำวิธีในการป้องกันการเกิดโรค เช่น การออกกำลังกาย, การเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาน หรือแนะนำการตรวดคัดกรองเพื่อตรวจหาโรคในเบื้องต้น
2.ตรวจสอบว่าคุณได้รับการตรวจสุขภาพทั่วไป หรือการได้รับวัคซีนหรือไม่
คุณได้รับการตรวจสุขภาพตามเกณฑ์อายุ ประวัติของคนในครอบครัว และกิจวัตรของตัวเองหรือไม่ ให้คุณตรวจสอบกับผู้เชียวชาญด้านสุขภาพว่าคุณควรได้รับวัคซีนหรือการทดสอบอะไรหรือไม่ เช่น ขณะนี้ถึงเวลาที่คุณจะต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pep Test), การตรวจสภาพรังสีเต้านม (Mammogram), การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer Screening), การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศ (Sexually Transmitted Disease Screening), การฉีดบาดทะยัก (Tetanus Shot), การตรวจตา หรือการตรวจคัดกรองอื่น ๆ
3.จดปัญหา และคำถามที่ต้องการทราบติดตัวไปด้วย
ทบทวนปัญหาสุขภาพที่มี แล้วทำการจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
- มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น ก้อนเนื้อ หรือการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังหรือไม่
- มีอาการปวด เวียนศีรษะ เมื่อยล้า มีปัญหาเรื่องปัสสาวะและอุจาระ หรือการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนหรือไม่
- พฤติกรรมในการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลงหรือไม่
- อยู่ในภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหรือไม่
การจดบันทึกความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาจเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสุขภาพ
คุณจะต้องซื่อสัตย์กับผู้ที่ทำการตรวจสุขภาพ เพราะคุณอาจเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้จากกิจวัตร การทำงาน หรือการเล่นของคุณ โดยผู้เชี่ยวชาญจะทำการวางแผนการพัฒนาตามสิ่งที่คุณทำ และเพื่อให้ได้คำแนะนำที่ดี คุณควรที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันที่สุด
4.ปัญหาในอนาคต
มีประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพของคุณในอนาคตหรือไม่ เช่น การรักษาภาวะมีบุตรยาก, การลดน้ำหนัก หรือการเลิกบุหรี่ ให้ทำการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของคุณ