Site icon สังคมเพื่อสุขภาพของคนไทย – Somanao

17 อาการคนท้องในช่วงต้น สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงระยะก่อนขาดประจำเดือน

17-อาการคนท้องในช่วงต้น-สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงระยะก่อนขาดประจำเดือน-feat

อาการที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์มีหลายอย่าง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นก่อนที่คุณตัดสินใจที่จะทดสอบการตั้งครรภ์ อาการเหล่านี้จะช่วยให้คุณเปลี่ยนแปลงตัวเอง และเตรียมพร้อมกับการตั้งครรภ์

อาการคนท้องในระยะก่อนขาดประจำเดือน

อาการที่จะกล่าวต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุทางการแพทย์อื่น ๆ ไม่ใช่เพียงแค่อาการคนท้องเท่านั้น ผลที่แน่ชัดนั้น จะได้จากการตรวจด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์

1.เลือดที่เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อน และการเป็นตะคริว

หากคุณมีเพศสัมพันธ์ในช่วงระยะเวลาของการตกไข่ และไม่ได้มีการป้องกัน ก็เป็นไปได้ว่าคุณจะมีการตั้งครรภ์ คุณจะสามารถพบอาการปวดประจำเดือน มีรอยเลือด หรือเลือดออกก่อนที่ประจำเดือนจะขาดไปประมาณ 1 หรือ 2 สัปดาห์ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีอาการแบบเดียวกัน แต่ถ้ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ก็เป็นไปได้ว่าจะเป็นอาการคนท้อง

เมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิแล้วฝังตัวกับเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากวันที่มีการตกไข่ 6-10 วัน ถ้าประจำเดือนของคุณมาตรงรอบ คุณจะมีเลือดจากการฝังตัวอ่อน และการเป็นตะคริวในช่วงสัปดาห์ที่ 3 โดยเลือดที่ออกนั้นจะเบาบางมาก อาจสังเกตเห็นหยดเลือดเล็กน้อยบนกางเกงชั้นใน หรืออาจพบเมื่อมีการเช็ดทำความสะอาดช่องคลอด ซึ่งอาจกินเวลาเป็นชั่วโมง หรือหลายวัน แต่หากมีเลือดออกในปริมาณมาก อาจเป็นการแท้ง หรือเป็นประจำเดือนปกติ

2.อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น

หนึ่งในอาการคนท้องที่พบได้ คือ การที่มีอุณหภูมิของร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้น (Basal Body Temperature ; BBT) แต่คุณจะใช้วิธีนี้ในการสังเกตได้ก็ต่อเมื่อมีการติดตามอุณหภูมิของร่างกายมาเป็นเวลาหลายเดือน ในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อน อุณหภูมิร่างกายจะอยู่ที่ 97.2-97.7 องศาฟาเรนไฮต์โดยประมาณ และช่วง 1-2 วันหลังจากการตกไข่ อุณหภูมิร่างกายของคุณจะเพิ่มขึ้น 0.4-1 องศาฟาเรนไฮต์ และจะลดลงหลังจากช่วงของรอบประจำเดือนผ่านไป แต่ในช่วงที่มีการตั้งครรภ์ อุณหภูมิของร่างกายจะยังคงเพิ่มขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายนั้นมีความละเอียดอ่อน ซึ่งคุณจะสามารถสังเกตได้หากมีการติดตามมาตลอดช่วงเวลาหลายเดือน

3.เจ็บหน้าอก เต้านมนุ่มและหนัก

การเปลี่ยนแปลงของหน้าอกเป็นสัญญาณเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ เพราะเมื่อคุณตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจะส่งสัญญาณไปยังเต้านมของคุณให้มีการเตรียมพร้อมภายใน 40 สัปดาห์

เริ่มจากการที่หลอดเลือดในทรวงอกเกิดการขยายตัว และเริ่มเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น ทำให้หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงของสีที่ฐานหัวนม (Areolas) โดยวงรอบฐานหัวนมจะมีสีเข้มและขยายใหญ่มากขึ้น โดยจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงหลังการตั้งครรภ์ประมาณ 1 หรือ 2 สัปดาห์ ซึ่งคุณอาจจะรู้สึกเสี่ยว บวม และเจ็บเมื่อสัมผัส ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว คุณจะรู้สึกว่าเสื้อชั้นในของคุณเริ่มแน่นหลังจากที่ประจำเดือนไม่มา หรือช่วงสัปดาห์ที่ 6-8 ของการตั้งครรภ์ สัญญาณที่พบได้อาจมากลักษณะคล้ายกับช่วงก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome ; PMS) และหากคุณพบว่าประจำเดือนของคุณมาช้ากว่ากำหนด และมีการเปลี่ยนแปลงของเต้านม คุณก็ควรที่จะทำการทดสอบการตั้งครรภ์

4.เหนื่อยล้า

หากเกิดความเหนื่อยล้าโดยไม่มีสาเหตุ นั่นอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ อาการคนท้องนี้เกิดจากการเพิ่มระดับของฮอร์โมนโปรเจสเจอโรน (Progesterone) ที่ส่งผลให้เหนื่อยและง่วงนอนตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การผลิตเลือดที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ สิ่งนี้ทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงาน โดยเฉพาะเมื่อคุณไม่ได้บริโภคอาหารที่มีวิตามิน เกลือแร่ ธาตุเหล็ก และน้ำที่มากพอ

หากคุณมีการตั้งครรภ์ คุณควรที่จะบริโภควิตามินบำรุงทุกวัน และห้ามบริโภคอาหารที่มีคาเฟอีนหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่มีความเกี่ยวข้าง รวมถึงคุณต้องมีการพักผ่อนที่เพียงพอ

อาการเมื่อล้าอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะโลหิตจาง (Anemia) ,ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ หรือภาวะอื่น ๆ

5.คลื่นไส้

อาการคลื่นไส้ หรือแพ้ท้อง เป็นอาการคนท้องทั่วไปที่เกิดขึ้น อาการนี้เป็นสัญญาณเตือนของการตั้งครรภ์ในระยะแรก โดยจะเกิดขึ้นในช่วงปลายของการขาดประจำเดือนครั้งแรก อาจทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ และอ่อนแรง

อาการคลื่นไส้อาจจะเกิดขึ้นตลอดทั้งวัน และจะหนักสุดในช่วงเช้า แต่ความรุนแรงจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และแต่ละครั้งของการตั้งครรภ์ เกิดจากฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotrophin) ที่เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ผลิตจากรกของตัวอ่อนที่ยึดเกาะกับผนังมดลูก

ส่วนใหญ่แล้วจะพบอาการแพ้ท้องได้ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ แต่บางคนอาจมีอาการจนถึงเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ หรือบางคนจะไม่พบอาการแพ้ท้องเลย จนกระทั่งเข้าสู่เดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์

6.ท้องอืด และอึดอัด

ท้องของคุณอาจจะยื่นออกมาจนกางเกงคับ แม้ว่าทารกจะยังเป็นเหมือนเซลล์ลูกบอลเล็ก ๆ ก็ตาม คุณจะรู้สึกหนัก ๆ ข้างในท้อง หรือรู้สึกเหมือนท้องอืด ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว รวมถึงอาจทำให้มีการผายลมหรือเรอตามมา อาการเหล่านี้เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone Hormone) ที่ชะลอการย่อยของกระเพาะอาหาร

เพื่อลดอาการท้องอืด ให้รับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ระบบย่อยทำงานได้ง่ายขึ้น รวมถึงให้หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารประเภททอด อาหารที่มีไขมันสูง และเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ

7.ปัสสาวะบ่อย

สิ่งที่คนท้องจะพบก็คือ อาการปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งหลังจากที่มีการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนหลายอย่างในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทำให้ร่างกายมีการผลิตเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของการปัสสาวะบ่อยขึ้นเมื่อมีการตั้งครรภ์ เพราะเมื่อไตมีการกรองเลือดมากขึ้น ก็จะทำให้ปริมาณของปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นด้วย

8.เหม็นกลิ่นอาหาร

คุณอาจจะรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหารที่ชอบ และกลิ่นของอาหารอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ประมาณ  85% ของผู้หญิงจะมีอาการเบื่ออาหารในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และกลับมาเป็นปกติในระยะที่ 2 หรือ 3 แต่บางคนก็มีอาการเบื่ออาหารตลอดช่วงการตั้งครรภ์

9.เวียนศีรษะ

อาการคนท้องอย่างการวิงเวียนศีรษะมีสาเหตุจากความดันโลหิตต่ำ เพราะในช่วงต้นของการตั้งครรภ์หลอดเลือดจะมีการขยายตัว ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง แต่จะกลับมาเป็นปกติในช่วงการตั้งครรภ์ระยะที่ 2

แต่หากมีเลือดออก และอาการปวดท้องร่วมด้วย อาจเกิดจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงสำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์

10.อารมณ์แปรปรวน

อารมณ์แปรปรวนนั้นมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลต่อสารสื่อประสาท สิ่งที่ต้องทำ คือ การพยายามที่จะผ่อนคลาย หาเวลาพัก หรือหาคนที่จะพูดคุยด้วย ซึ่งอาจจะเป็นคู่ของคุณเอง โดยการพูดคุยจะช่วยให้คนรอบข้างเข้าใจถึงสถานการณ์ที่คุณกำลังเผชิญอยู่ได้

11.ท้องผูก

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนโปเจสเตอโรน (Progesterone) สามารถส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารได้ โดยลำไส้จะมีการเคลื่อนไหวที่ยากขึ้น เพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้อาหารเคลื่อนตัวช้าตลอดระบบย่อยอาหาร

12.ปวดหัว และปวดหลัง

ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำสามารถทำให้ปวดหัว เพราะเซลล์สมองต้องทำการปรับตัวให้เข้ากับระดับน้ำตาลที่ลดลง ซึ่งถ้าคุณมีอาการปวดหัวบ่อย อาจจะมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่กำลังเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์

นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดหลังจากการคลายตัวของเส้นเอ็น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรับน้ำหนักตัวของทารกที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการปวดตะคริว ท้องอืด และท้องผูกก็สามารถเป็นสาเหตุของการปวดหลังระหว่างตั้งครรภ์ได้

13.การหลั่งของน้ำลาย

นี่ไม่ใช่อาการโดยทั่วไปที่จะเกิดขึ้น แต่ก็มีบางคนที่พบกับสิ่งเหล่านี้ในช่วงต้นของการตั้งครรภ์ โดยร่างกายของผู้หญิงบางคนจะมีการผลิตน้ำลายออกมามากกว่าปกติในช่วงการตั้งครรภ์ ภาวะนี้เรียกว่า Ptyalism Gravidarum

การที่ร่างกายมีการผลิตน้ำลายออกมามากกว่าปกตินั้นมีความเกี่ยวข้องกับภาวะกรดไหลย้อน และอาการแพ้ท้อง ซึ่งผู้หญิงที่มีอาการคลื่นไส้จะรู้สึกเหมือนไม่มีการกลืน ร่างกายจึงมีการผลิตน้ำลายในปากออกมาเพิ่ม ส่วนถ้าเป็นกรดไหลย้อนที่มีสาเหตุจากการที่มีกรดมากเกินไป ร่างกายก็จะผลิตน้ำลายออกมาเพื่อต่อสู้กับภาวะกรดไหลย้อน

14.รู้สึกถึงรสโลหะในปาก

บางคนอาจจะรู้สึกถึงรสชาติของโลหะอยู่ตลอดเวลา โดยสาเหตุที่เกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย

15.หิวน้ำบ่อย

การตั้งครรภ์ในช่วงแรกส่งผลให้รู้สึกกระหายน้ำบ่อยขึ้น เนื่องจากร่างกายมีการผลิตเลือดเพิ่มขึ้น เป็นผลต่อเนื่องให้มีการปัสสาวะที่บ่อย และส่งผลให้รู้สึกกระหายน้ำเพิ่มขึ้นอีกเช่นกัน

16.เบื่ออาหาร

เมื่อคุณมีอาการคลื่นไส้ และอาเจียน ก็จะส่งผลให้ความอยากอาหารของคุณลดลง แต่จะมีความอยากอาหารจำพวกของดอง โดยอาการเหล่านี้อาจจะดีขึ้นในช่วงปลายของการตั้งครรภ์

กลิ่นลาเวนเดอร์จะช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้ ซึ่งคุณอาจจะใช้ภาชนะกลิ่นลาเวนเดอร์เพื่อลดอาการคลื่นไส้ และเพิ่มความอยากอาหาร นอกจากนี้การผ่อนคลายความเครียดก็เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความอยากอาหารได้ดี

17.หายใจถี่

คุณอาการจะมีการหายใจสั้น ๆ หายใจถี่ เนื่องจากร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น และมีการใช้เลือดร่วมกับทารกที่กำลังเจริญเติบโต โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ เพราะทารกจะมีการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น จึงต้องการออกซิเจนและสารอาหารเพิ่มมากขึ้น

สิ่งที่ช่วยได้คือการออกกำลังกายเป็นประจำ นั่งในท่าทางที่เหมาะสม หายใจเข้าให้ลึกและช้า ใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดจนเกินไป

จากที่ได้กล่าวมาตอนต้นแล้วว่า อาการต่าง ๆ ที่พบนั้นอาจจะเกิดจากสาเหตุทางการแพทย์อื่น ๆ ซึ่งอาจไม่ใช่อาการคนท้องเสมอไป อาการต่าง ๆ นี้เป็นเพียงสิ่งที่ช่วยบ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ของการตั้งครรภ์ แต่การยืนยันผลที่แน่นอนคือการตรวจสอบด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์

อะไรคือสิ่งที่สามารถทำได้

ถ้าคุณพบกับสัญญาณเตือนเหล่านี้ก่อนที่จะขาดประจำเดือน ก็อาจจะสันนิฐานได้ว่ากำลังมีการตั้งครรภ์ แต่บางครั้งก็อาจเป็นเพียงอาการก่อนประจำเดือนมา หรืออาการที่เกี่ยวกับสุขภาพเรื่องอื่น ๆ ดังนั้นให้คุณรอประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังขาดประจำเดือน แล้วทำการตรวจสอบด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์

การทดสอบครรภ์ที่เร็วเกิดไปอาจทำให้ผลที่ได้ออกมาเป็นลบ เนื่องจากฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotropin Hormone) ยังคงมีระดับต่ำอยู่ จึงต้องรอให้ฮอร์โมน HCG มีระดับที่เพิ่มสูงขึ้นก่อนแล้วค่อยทำการทดสอบ แต่ถ้าผลยังคงออกมาเป็นลบ การตรวจเลือดก็เป็นอีกการตรวจหนึ่งที่จะช่วยบอกผลได้

การตรวจเลือดจะให้ผลการตรวจที่แม่นยำ แต่อาจจะไม่ใช่ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์หลังจากที่มีการขาดประจำเดือนจึงจะสามารถตรวจเพื่อยืนยันผลการตั้งครรภ์ได้ โดยในระหว่างนี้คุณอาจจะเริ่มต้นที่จะดูแลตัวเองก่อน ดังนี้

 

คำถามที่พบบ่อย

1.จะรับรู้ถึงอาการของการตั้งครรภ์ได้เมื่อไหร่

โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการในช่วง 14 วันของการตั้งครรภ์  ซึ่งอยู่ในช่วงรอบประจำเดือน

2.สาเหตุอะไรที่สามารถทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ

การที่ประจำเดือนมาช้ากว่าปกตินั้นมีอยู่หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมากเกินไป หรือน้ำหนักตัวที่ลดลงมากเกินไป การบริโภคอาหารที่ผิดปกติ (Anorexia ที่เรียกกันว่า โรคกลัวอ้วน หรือ Bulimia เรียกกันว่า โรคล้วงคอ) ความเครียด ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) การเดินทาง ต่อยไทรอยด์ การบริโภคยาคุมกำเนิด หรือการใช้ยาบางชนิด

3.เป็นไปได้ไหมที่ขาดประจำเดือน แต่ไม่มีการตั้งครรภ์

เป็นไปได้ ซึ่งมีเหตุผลหลายอย่างนอกเหนือจากการตั้งครรภ์

4.ต้องใช้เวลากี่วันถึงจะมีอาการของการตั้งครรภ์

ใช้ระยะเวลาประมาณ 6-14 วันหลังจากเริ่มมีการตั้งครรภ์

นับตั้งแต่วันที่มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีการตกไข่ ร่างกายจะมีการพัฒนาเพื่อรองรับชีวิตที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ นั่นหมายความว่าคุณได้เริ่มการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 10 วันก่อนที่จะถึงรอบประจำเดือน แต่การตรวจสอบการตั้งครรภ์จะให้ผลที่แม่นยำหลังจากที่ประจำเดือนขาดไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพราะจะต้องให้ร่างกายมีระดับของฮอร์โมน HCG ที่เหมาะสมก่อน

Facebook Comments