Site icon สังคมเพื่อสุขภาพของคนไทย – Somanao

ลดน้ำหนัก ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง

ลดน้ำหนัก-ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ-และโรคหลอดเลือดในสมอง---feat

เมื่อมีน้ำหนักตัวที่มากเกินจะส่งผลให้หัวใจต้องทำการสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายอย่างหนัก เป็นสาเหตุให้มีความดันโลหิตสูง และสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจได้

น้ำหนักเกิน เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมอง

ในหลายปีที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนของผู้ที่มีน้ำหนักเกินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อหัวใจ หลอดเลือด และข้อต่อ โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่สูง และการเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยเกินไป

ถ้าพบว่าตนเองมีน้ำหนักเกินหรืออยู่ในเกณฑ์อ้วน และมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน แคลอรี่สูง หรือการสูบบุหรี่ คุณก็ควรที่จะเข้ารับการตรวจจากแพทย์

คุณจำเป็นที่จะต้องลดน้ำหนักหรือยัง

ถ้าคำตอบคือ “ใช่” คุณมีแนวโน้มมากกว่าครึ่งที่จะมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วน ซึ่งผลดีที่จะตามมาเมื่อคุณทำการลดน้ำหนักส่วนเกินออก คือ

คุณอาจจะมีเหตุผลส่วนตัวที่อยากจะลดน้ำหนัก แต่ถ้าคุณมีภาวะหัวใจวาย มีการผ่าตัดบายพาส (Bypass surgery) หรือการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน (Angioplasty) มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำการลดน้ำหนักตามคำแนะนำ โดยคุณควรพยายามที่จะลองทำสิ่งต่อไปนี้

คุณอดอาหารอยู่หรือเปล่า

ลืมเกี่ยวกับเรื่องอดอาหารแล้วเปลี่ยนมาทำตามแผนการลดน้ำหนักแทน ค่อยเปลี่ยนแปลงที่ละน้อยด้วยการบริโภคให้น้อยลง และทำกิจกรรมต่างๆให้มากขึ้น แม้จะลดน้ำหนักได้ทีละน้อย แต่ก็เป็นผลดีต่อสุขภาพ การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงง่ายๆที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้คุณมีน้ำหนักที่เหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย และมีน้ำหนักที่คงที่ ซึ่งการมีน้ำหนักที่แสดงว่าสุขภาพดีไม่จำเป็นต้องผอมเหมือนกับนางแบบ โดยสิ่งที่ช่วยให้คุณแน่ใจว่ามีน้ำหนักที่เหมาะสมก็คือ การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เดินเร็ว และทำกิจกรรมต่างๆอย่างสม่ำเสมอ

คุณมีรูปร่างแบบผลแอปเปิ้ลหรือลูกแพร

การที่มีน้ำหนักเกินมีสาเหตุมาจากการสะสมของไขมันในร่างกาย โดยถ้ามีการสะสมไขมันไว้มากที่บริเวณรอบเอวก็จะทำให้มีรูปร่างทรงผลแอปเปิ้ล เป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และโรคมะเร็ง ส่วนรูปร่างทรงลูกแพร เกิดจากการสะสมของไขมันที่บริเวณสะโพกเป็นจำนวนมากซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และหากอยากทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคเส้นเลือดในสมองมากแค่ไหน ให้ลองนำสายวัดมาวัดรอบเอวแล้วเทียบกับตารางต่อไปนี้

เพศหญิง                                           เพศชาย

อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ               < 80 ซม. (32 นิ้ว)                             < 94 ซม. (37 นิ้ว)

มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง   80 – 88 ซม. (32 -35 นิ้ว)              94 – 102 ซม. (37 – 40 นิ้ว)

มีความเสี่ยงสูง                                   > 88 ซม. (35 นิ้ว)                           > 102 ซม. (40 นิ้ว)

คำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index ; BMI)

วิธีการคำนวณค่าดัชนีมวลกายทำได้ง่ายๆโดยการคิดตามสูตร

โดยมีเกณฑ์วัดคือ

หรือมีวิธีที่ง่ายกว่านั้น คือการวาดเส้นลงบนตารางเทียบน้ำหนักและส่วนสูงขึ้นมา โดยเส้นที่ลากมีจุดตัดอยู่ตรงส่วนใดของตาราง นั่นคือเกณฑ์ดัชนีมวลกายของคุณ ซึ่งสามารถทำได้ตามตารางต่อไปนี้

ถ้าคุณมีเกณฑ์อยู่ในช่วง “น้ำหนักเกิน” ให้คุณเริ่มที่จะทำตามข้อแนะนำในการลดน้ำหนัก และถ้าคุณมีเกณฑ์อยู่ในช่วง “อ้วน” ให้คุณเข้าปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนา โดยการลดน้ำหนักไม่ต้องลดอย่างรวดเร็ว ให้ทำการลดน้ำหนักอาทิตย์ละ 1 กิโลกรัม เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนัก

คุณพร้อมที่จะลดน้ำหนักแล้วหรือยัง

2 สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องทำให้การลดน้ำหนัก คือ

  1. หาแรงบันดาลใจในการลดน้ำหนัก จดบันทึกการบริโภคอาหารและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยให้มุ่งความสนใจและมีแรงบันดาลใจมากขึ้น
  2. การวางแผนและเตรียมตัว โดยการวางแผนจะช่วยให้สามารถควบคุมการลดน้ำหนักได้มากขึ้น ให้ตู้เย็นเป็นที่เก็บของอาหารสุขภาพอย่างผักและผลไม้ อาหารหรือขนมไขมันต่ำ และทำการปรุงอาหารที่ใช้น้ำมันน้อย หาชุดออกกำลังกายและเทรนเนอร์ในการวางโปรแกรมกิจกรรมต่างๆ วิธีนี้จะช่วยให้สามารถเริ่มต้นบริโภคอาหารใหม่ๆ และกิจกรรมใหม่ๆได้ง่ายขึ้น

แรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การลดน้ำหนักสำเร็จได้ แรงบันดาลใจจะทำให้คุณสามารถเริ่มที่จะทำ และทำไปอย่างต่อเนื่องได้

เคล็ดลับการลดน้ำหนักให้ประสบความสำเร็จ

การปรุงอาหารไขมันต่ำเพื่อสุขภาพ

สิ่งที่ควรมีติดไว้

แอลกอฮอล์

การสนับสนุนและให้รางวัล

ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อลดน้ำหนัก

การทำกิจกรรมทางกายเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้น้ำหนักตัวลดลง และช่วยให้มีสุขภาพหัวใจที่แข็งแรง โดยการออกกำลังกายจะช่วยในเรื่องการเผาพลาญพลังงาน สร้างกล้ามเนื้อ และควบคุมความหิวได้

การที่จะลดน้ำหนัก คุณจำเป็นที่จะต้องใช้พลังงานให้ร่างกายให้มากกว่าพลังงานที่ได้รับเข้าไปจากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งทางที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนัก คือการต้องควบคุมไปพร้อมกันทั้งการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย

ในหนึ่งวันสามารถที่จะแบ่งการออกกำลังกายออกเป็น 2 – 3 ครั้ง เช่น แบ่งเป็นการเดิน 45 นาที และว่ายน้ำอีก 15 นาที เป็นต้น

การออกำลังกายด้วยการเดินเป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักที่ดี โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน อาจเริ่มต้นด้วยการเดิน 3 – 5 กิโลเมตรในความเร็วระดับปานกลาง ใช้ระยะเวลาประมาณ 30 – 40 นาที จากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มความเร็ว ระยะเวลา และเพิ่มการทำกิจกรรมอื่นขึ้นมา เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้น หรือเล่นฟุตบอล เป็นต้น

การออกกำลังกายที่มีความหนัก เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำทางยาว หรือการปั่นจักรยานที่มีอัตราเร็วมากกว่า 10 mph (16.09 km/h) จะสามารถช่วยในการลดน้ำหนัก และช่วยให้มีร่างกายและสุขภาพที่ดี ซึ่งใช้เวลาเพียงครึ่งหนึ่งของการออกกำลังกายแบบปานกลาง แต่ให้ผลลัพธ์ที่เท่ากับการออกกำลังกายแบบปานกลางแบบเต็มเวลา โดยคุณสามารถที่จะออกกำลังกายแบบผสมผสานระหว่างกิจกรรมแบบหนักและแบบปานกลาง เช่น ทำการวิ่ง 30 นาที แล้วเปลี่ยนมาเป็นการเดินเร็ว 15 – 20 นาที

ทั้งนี้ ระยะเวลาและประเภทของกิจกรรมที่ทำจะให้ผลในการลดน้ำหนักของแต่ละบุคคลที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งถ้าเริ่มสามารถที่จะทำกิจกรรมในระยะเวลาหรือความหนักเพิ่มขึ้นได้ ก็มีแนวโน้มที่จะสามารถลดน้ำหนักลงได้เพิ่มขึ้น รวมถึงได้รับประโยชน์ทางสุขภาพด้านอื่นๆ เช่น มีพลังในการทำสิ่งต่างๆมากขึ้น หรือมีการนอนหลับที่ดีขึ้น

แนวทางในการปฏิบัติ

วางแผนการบริโภคอาหารในหนึ่งวัน

มื้ออาหารที่นำมาแนะนำ เป็นอาหารที่จะช่วยให้ท้องอิ่ม และให้สารอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ

มื้อเช้า

ระหว่างมื้อเช้า

มื้อกลางวัน

ระหว่างมื้อกลางวัน

อาหารมื้อหลัก

มื้อเย็น

นอกจากนี้ต้องดื่มน้ำประมาณวันละ 8 – 10 แก้ว หรือ 1.5 ลิตร และถ้ายังรู้สึกหิวระหว่างมื้ออาหาร ให้ลองดื่มน้ำก่อนเป็นอันดับแรก แต่ถ้ายังคงหิวอยู่ให้เลือกบริโภคผลไม้สด หรือผลไม้สดเป็นของว่าง

Facebook Comments