Site icon สังคมเพื่อสุขภาพของคนไทย – Somanao

อาการ สาเหตุ และการรักษาหรือการบรรเทาโรคเบาหวาน (Diabetes)

อาการ-สาเหตุ-และการรักษาหรือการบรรเทาโรคเบาหวาน-(Diabetes)----feat

โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคเมตาบอลิก (Metabolic) ที่เกิดขึ้นในผู้ที่มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายมีการผลิตอินซูลิน (Insulin) ไม่เพียงพอ หรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน โดยผู้ป่วยที่มีปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงจะพบกับภาวะปัสสาวะมาก (Polyuria), กระหายน้ำ (Polydipsia) และรับประทานจุ (Polyphagia)

ข้อมูลโดยรวมของโรคเบาหวาน

ข้อมูลที่จะกล่าวนี้เป็นประเด็นหลักเกี่ยวกับเรื่องเบาหวาน และข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง

ต่อไปนี้คือประเภทของโรคเบาหวานทั้ง 3 ประเภท

1.โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes)

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากการที่ร่างกายไม่มีการผลิตอินซูลิน บางคนอาจเรียกว่า โรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (Insulin-Dependent Diabetes), เบาหวานก่อนวัน (Juvenile Diabetes) หรือเบาหวานระยะเริ่มต้น (Early-Onset Diabetes) คนที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักจะมีอายุต่ำกว่า 40 ปี มักอยู่ในช่วงผู้ใหญ่ตอนต้น หรือวัยรุ่น

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะต้องฉีดอินซูลินตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยตรวจสอบได้จากการตรวจเลือดเป็นประจำ และติดตามการรับประทานอาหารเป็นพิเศษ

2.โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes)

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการ หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน เรียกว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance)

บางคนอาจควบคุมอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ด้วยการลดน้ำหนัก, ปฏิบัติตามการรับประทานอาหานเพื่อสุขภาพ, ออกกำลังกายมากๆ และตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะมีอาการที่แย่ลงเรื่อย ๆ และต้องมีการให้อินซูลิน ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นยาชนิดเม็ด

ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และผู้ที่เป็นเกณฑ์อ้วน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยผู้ที่มีไขมันในช่องท้องมากหรือที่เรียกกันว่า อ้วนลงพุง จะมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก ซึ่งการที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนจะทำให้ร่างกายปล่อยสารเคมีที่สามารถส่งผลระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานได้อย่างไม่สมบูรณ์

การที่มีน้ำหนักเกิน, ไม่มีการทำกิจกรรมทางกาย และการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการดื่มน้ำอัดลมเพียงแค่ 1 กระป๋องต่อวันก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึง 22 % นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าการดื่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมอาจส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานโดยตรง เช่นเดียวกับการส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวอีกด้วย

ความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุมาก ทั้งนี้ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด แต่คาดว่ามีสาเหตุจากแนวโน้มที่จะน้ำหนักเพิ่มขึ้น และการมีกิจกรรมทางกายที่น้อยลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น

งานวิจัยจาก University of Edinburgh ประเทศ Scotland ระบุว่า ผู้ชายที่มีฮอร์โมนเพศชายต่ำจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากกว่า เนื่องจากความเกี่ยวข้องความต้านทานต่ออินซูลิน

3.โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes)

ผู้หญิงบางคนจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์สามารควบคุมโรคเบาหวานได้ด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร มีเพียง 10 – 20 % ของผู้ป่วยที่จะต้องบริโภคยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และหากได้ไม่ทำการวินิจฉัยหรือควบคุม อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอดบุตร โดยทารกอาจจะมีขนาดตัวที่ใหญ่เกินกว่าที่ควนจะเป็น

นักวิทยาศาสตร์จาก National Institutes of Health และ Harvard University พบว่าผู้หญิงที่มีการบริโภคไขมันสัตว์ และอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงก่อนการตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่บริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอล และไขมันสัตว์ที่ต่ำ

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2

สัญญาณเตือนของโรคเบาหวาน (Prediabetes)

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนใหญ่จะมีอาการเป็นสัญญาณเตือนก่อน โดยจะทราบได้จากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ แต่ยังไม่สูงถึงระดับของโรคเบาหวาน และจะเริ่มพบการต้านทานอินซูลินของร่างกาย

โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติของเมทาบอลิซึม (Metabolism)

โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหาร หมายถึง เกิดความผิดปกติกับวิธีการที่ใช้ในการย่อยอาหารเพื่อสร้างพลังงาน และเพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยอาหารที่เรากินส่วนใหญ่จะถูกแปรรูปไปเป็นน้ำตาลกลูโคส ที่เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย

เมื่ออาหารถูกย่อย กลูโคสจะถูกนำเข้าสู่กระแสเลือด และเซลล์ของร่างกายจะใช้กลูโคสเป็นพลังงานและการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตามหากไม่มีอินซูลิน เซลล์ต่าง ๆ ก็จะไม่สามารถรับกูโคสมาใช้ได้

อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นโดยตับอ่อน ซึ่งหลังจากการบริโภคอาหาร ตับอ่อนจะทำการปล่อยอินซูลินออกมาโดยอัตโนมัติ เพื่อนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าสู่เซลล์ร่างกาย

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะในเลือดสูง (Hyperglycemia) มีสาเหตุจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการ หรือเกิดจากการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้น้ำตาลสะสมในเลือด และน้ำตาลส่วนเกินเหล่านี้จะถูกขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ดังนั้นแม้ว่าภายในเลือดจะมีปริมาณของน้ำตาลสูง แต่เซลล์ร่างกายก็จะไม่สามารถรับน้ำตาลไปใช้งานได้

วิธีการตรวจสอบโรคเบาหวาน

แพทย์สามารถตรวจว่าผู้ป่วยมีการทำงานของระบบเผาผลาญอาหารเป็นปกติ, ขั้นก่อนเป็นเบาหวาน, หรือเป็นโรคเบาหวาน จาก 3 วิธีที่แตกต่างกัน ดังนี้

1.การประเมินระดับน้ำตาลเฉลี่ย (A1C test)

2.การวัดระดับน้ำตาลจากพลาสมา (Fasting Plasma Glucose test ; FPG test)

3.ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (Oral Glucose Tolerance test ; OGTT test)

การควบคุม และการรักษาโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานทุกประเภทสามารรักษาให้ดีขึ้นได้ โดยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะเป็นไปตลอดชีวิต และยังไม่มีวิธีการรักษาที่เป็นที่รู้จัก ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักจะไม่ได้เป็นตลอดชีวิต และบางคนจะมีวิธีการบรรเทาโดยไม่ต้องใช้ยา แต่ใช้การออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร และควบคุมน้ำหนัก

นักวิจัยจาก Mayo Clinic Arizona ใน Scottsdale แสดงให้เห็นว่าการผ่าตัดบายพาสที่กระเพาะอาหารสามารช่วยให้โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้ดีขึ้นได้

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 รักษาได้ด้วยการฉีดอินซูลิน รวมถึงการควบคุมอาหารเป็นพิเศษ และการออกกำลังกายผู้ป่วย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักรักษาด้วยการกินยาเม็ด ออกกำลังกาย และควบคุมอาหารเป็นพิเศษ แต่บางครั้งก็อาจจะต้องรับอินซูลินด้วยการฉีดหากผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่มีการควบคุมที่เหมาะสม จะเกิดความเสี่ยงอย่างมากต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวกับโรคเบาหวาน

Facebook Comments