เรียนรู้อาการ และวิธีในการจัดการกับความเจ็บปวดของร่างกาย
ความปวดคือความจริงที่ผู้หญิงหลายคนต้องเผชิญจากรอบเดือนสักช่วงหนึ่งของชีวิตรวมถึงการคลอดลูกด้วย นอกจากนั้นความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ยังน่าทรมานอีกด้วย เพื่อรับมือกับความปวดนั้นผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะหาทางแก้มากกว่าผู้ชาย เช่น การหาข้อมูล หาแรงสนับสนุน และหาทางผ่อนคลายเพื่อปลดปล่อยความเครียด
ยังไงผู้หญิงก็ยังต้องทนเจ็บครั้งต่อไปอีกอยู่ดีแต่มีโอกาสน้อยที่หมอจะให้ยาแก้ปวด จากงานวิจัยพบว่าผู้ชายไม่ค่อยบอกหมอว่าปวดเพราะรู้สึกว่าต้องทนให้ได้ แต่นั่นไม่ได้หมายถึงว่าความปวดที่ผู้หญิงบอกไปไม่เป็นจริง
ความปวดแบบเรื้อรัง
ผู้หญิงมีโอกาสที่จะปวดแบบเรื้อรังมากกว่าผู้ชาย การปวดแบบเรื้อรังในที่นี้หมายถึงความปวดมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปที่อาจยาวไปเป็นปีหรือ 10 ปี บางครั้งความปวดเกิดจากการได้รับการบาดเจ็บหรือโรคในอวัยวะหรือร่างกาย และจะไปขัดขวางการใช้ชีวิตโดย
- ยากที่จะทำงาน
- ทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิดและเครียด
- ทำให้ยากที่จะหลับ
- ทำให้ไม่สนใจอาหารหรือเพศสัมพันธุ์
- ทำให้ไม่อยากทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่อาจทำให้ปวดมากกว่าเดิม
- ใช้ยาแก้ปวดหรือแอลกอฮอล์เป็นทางแก้การปวดเรื้อรัง
- ค่ารักษาที่มากขึ้นเรื่อยๆ
ความเจ็บปวดเรื้อรังแตกต่างจากความเจ็บปวดแบบฉับพลันหรือความเจ็บปวดที่มีไม่ถึง3เดือน ความเจ็บแบบฉับพลัน เช่น แผลอักเสบ การติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บทั่วไป
การวินิจฉัยโรค
ขั้นแรกของการรักษาความเจ็บคือการวินิจฉัยโดยการตอบคำถามหมอ เช่น
- เริ่มเจ็บตั้งแต่เมื่อไหร่
- เจ็บหรือปวดตรงไหน
- รู้สึกเจ็บแบบไหน
- อะไรทำให้เจ็บมากขึ้นหรือน้อยลง
- ความเจ็บมีผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันแค่ไหน
- ยาที่เคยใช้หรือทาน
- ผลข้างเคียงจากยา
หรือหมออาจถามคำถามอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดูว่าคนไข้เครียดรึเปล่า ความเครียดเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่เจ็บปวดเรื้อรัง สำหรับบางคนที่เครียดมากๆความเจ็บปวดอาจมาจากหรือมีส่วนจากความเครียด เช่น ปวดหัวบ่อยๆ ปวดหลัง หรือปวดท้อง ทางเดียวที่จะทำให้หมอรู้และหาวิธีรักษาได้คือผู้ป่วยต้องตอบคำถามหมอตามความจริงเท่านั้น
วิธีจัดการกับความเจ็บ
สามารถรักษาได้จาก
- ยา
- กายภาพบำบัด
- การรักษาทางด้านจิตใจและพฤติกรรม
- ศัลยกรรม
- การรักษาไม่ได้รักษาจากเพียงหมอคนเดียวแต่จะเป็นการรวมกลุ่มของหมอ นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด และแพทย์ทางเลือก เช่น แพทย์ฝังเข็ม เพื่อวางแผนการรักษา
เพราะคนไข้ทุกคนแตกต่างกัน บางการรักษาจึงใช้ได้กับแค่บางคน ทีมหมอจึงอาจให้คุรลองการรักษาหลายๆแบบเพื่อดูว่าวิธีไหนได้ผล
ยา
ยาแก้ปวดจะเข้าไปกดประสาทเพื่อบรรเทาความเจ็บแต่ไม่ได้แก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะถ้ายาหมดฤทธิ์ก็จะกลับมาปวดเหมือนเดิม
ยาลดอาการอักเสบหรือยาแก้ปวด (NSAIDs)
ยาลดอาการอักเสบนี้ช่วยลดความปวด ลดไข้ และลดอาการอักเสบ เช่น aspirin, ibuprofen และnaproxen ถ้าใช้นานๆทีจะรู้สึกว่าไม่มีผลข้างเคียง แต่ถ้าใช้ไปนานๆจะรู้สึกระคายเคืองท้องและลำไส้ บางตัวอาจทำให้เกิดโรคตับหรือไตได้ นอกจากนั้นยาลดอาการอักเสบชนิดอื่นอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะหัวใจวายและโรคสมองขาดเลือด อีกด้วย
กลุ่มยาแก้ปวด Acetaminophen
กลุ่มยาแก้ปวดAcetaminophen เช่น พาราเซตามอล ได้ผลพอๆกับยาลดอาหารอักเสบNSAIDsแต่ไม่ลดอาการอักเสบ มีโอกาสน้อยที่ยาAcetaminophenจะเข้าไปป่วนท้องเมื่อเทียบกับยาNSAIDs แต่ถ้าทานในปริมาณมากเกินไปมันอาจทำลายตับได้โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์มาก
โอปิออยด์ (Opioids)
โอปิออยด์เป็นสารเสพติดที่มีความสามารถในการลดอาการปวดสูง โดยมีส่วนประกอบของมอร์ฟีน เมทาโดน และออกซิโคโดน ผลข้างเคียงของโอปิออยด์คือ
- วิงเวียนศีรษะ
- คลื่นไส้อาเจียน
- ซบเซา
ถ้าทานยาประเภทโอปิออยด์มากกว่า 1 หรือ 2 สัปดาห์(หรือแค่ไม่กี่วันสำหรับบางคน) แล้วไม่ทานต่ออาจเกิดอาการท้องเสีย มีความกังวล และร่างกายสั่นได้
ถ้าใช้ยาอย่างถูกต้องโอกาสการติดยาก็จะลดลง แต่หมอและคนไข้หลายคนที่กังวลมากไม่ทานยาในปริมาณที่ควรได้รับ ก็ต้องทนกับการปวดต่อไปแบบไม่สิ้นสุด
ยากล่อมประสาทและยาต้านการชัก
ยาบางชนิดที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้าสามารถรักษาอาการปวดได้ เช่น ปวดหัวไมเกรนหรือปวดหัวจากความเครียด เพราะส่วนหนึ่งของสมองที่เกี่ยวข้องกับความปวดก็เชื่อมกับความซึมเศร้า
การรักษาอาการปวดด้วยวิธีอื่น
นักบำบัดอาจแนะนำการรักษาที่ไม่ต้องใช้ยาหรือใช้ร่วมกับยา และมีแนวโน้มว่าร่างกายของผู้หญิงจะตอบสนองดีกว่าผู้ชาย
กายภาพบำบัด
ผู้ป่วยกับอาการปวดเรื้อรังขยับน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะคิดว่ากิจกรรมทางร่างกายจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ที่จริงแล้วการอยู่เฉยๆจะทำให้เจ็บหนักขึ้น ถ้าคุณกำลังมีปัญหากับอาการปวดเรื้อรัง นักกายภาพบำบัดจะช่วยหากิจกรรมที่ไม่รุนแรงและเหมาะสม ถึงแม้จะเจ็บขณะทำก็ควรทำต่อไปเรื่อยๆเพราะความเจ็บจากการขยับไม่ได้ทำให้ร่างกายแย่ลง
ประเภทของกายภาพบำบัดที่อาจช่วยรักษาอาการบาดเจ็บ ได้แก่
- การรักษาด้วยความร้อน – แช่น้ำอุ่น แผ่นประคบร้อน คลื่นเสียงความถี่สูงที่ส่งความร้อนไปยังเนื้อเยื่อ
- การรักษาด้วยความเย็น – แผ่นความเย็น แช่น้ำเย็น นวดด้วยน้ำแข็ง
- การยืดกล้ามเนื้อแบบเบา
- กิจกรรมเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
- นวด โดยกดเฉพาะจุดบนร่างกาย
- การรักษาด้วยการสั่นสะเทือน
การรักษาโดยการกระตุ้นเส้นประสาท
การรักษาโดยการกระตุ้นประสาท เช่น การฝังเข็ม จะเข้าไปแทรกแซงการส่งสัญญาณความเจ็บไปยังสมองและยังทำให้ร่างกายปล่อยสารเอนโดรฟีนเพื่อบรรเทาความเจ็บ
การรักษาด้านพฤติกรรมและจิตใจ
การรักษานี้จะช่วยผ่อนคลายหรือเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมที่บางครั้งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้ เช่น
- การบำบัดโดยทฤษฎี ช่วยควบคุมร่างกายให้อยู่เหนือความเจ็บปวดโดยการสอนให้จำและเปลี่ยนอารมณ์ที่ทำให้เจ็บหนักขึ้น เช่น ความกังวล ความโกรธ และความเศร้า
- การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยลดความตึงและบรรเทาอาการเจ็บได้
- การหายใจลึกๆ ช่วยผ่อนคลาย
- การจินตนาการ จินตนาการว่ามีความสุขช่วยให้หยุดคิดถึงความเจ็บได้
- Biofeedback คืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่บอกความตึงของกล้ามเนื้อ อุณหภูมิผิวหนัง และส่วนอื่นๆของร่างกาย เพื่อจะได้รู้วิธีบรรเทาอาการอย่างถูกจุด
ความเจ็บสามารถทำให้ภาวะซึมเศร้าแย่ลงและเจ็บมากขึ้น ดังนั้นถ้าลดความกังวลได้ก็จะลดความเจ็บได้เช่นกัน
อาการปวดอื่นๆ
ปวดหัว
อาการ
- รู้สึกเจ็บรอบๆศีรษะ
- กล้ามเนื้อตึงบริเวณหลังและคอ
- มักจะเกิดเวลาเครียด
- มักเกิดพร้อมกับอาการซึมเศร้า
วิธีรักษา
- ผ่อนคลาย – พักจากการทำทุกอย่างและนอนบนเตียง
- Biofeedback
- ยาแก้ปวด (NSAIDs)
- ยากล่อมประสาท
- ควบคุมความเครียด
ปวดหัวไมเกรน
อาการ
- ปวดแบบสั่นๆเริ่มจากข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะและจะกระจายไปยังจุดอื่น
- แสง เสียง และกิจกรรมทางร่างกายจะทำให้ปวดหัวมากขึ้น
- วิงเวียนและอยากอาเจียน
- มีสัญญาณเตือนหรือออร่าประมาณ1ชั่วโมงก่อนจะปวดหัวไมเกรน
- รู้สึกอ่อนล้าที่แขนหรือขา มีปัญหาการทรงตัว หรือการพูด
วิธีรักษา
- หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นไมเกรน
- ยาtriptansช่วยหยุดไมเกรนถ้าทานในช่วงที่เริ่มเป็น (คำเตือน: ควรทานอย่างระมัดระวังเพราะอาจหัวใจวายและเสียชีวิตได้ในเด็กผู้หญิง)
- ยาแก้วิงเวียนและอาเจียน
- Biofeedback หรือการฝึกการผ่อนคลาย
ข้อต่อขากรรไกร
อาการ
- เจ็บเวลาเคี้ยวหรือที่ข้อต่อกรรไกรที่เชื่อมกรามด้านล่างกับกระดูกอีกข้างของศีรษะ
- มีเสียงคลิกเวลาอ้าปากหรือปิดปาก
- ขยับกรามได้ไม่มาก
- เจ็บที่หน้าหรือคอ
วิธีรักษา
- ทานอาหารอ่อน
- นวดกล้ามเนื้อที่ปวด
- ประคบด้วยความเย็นหรือความร้อนที่หน้า
- รู้จักผ่อนคลาย
- ทานยาแก้ปวด (NSAIDs) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
- ลดความเครียด
กลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน
อาการ
- ปวดหลังจากได้รับการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หรือเนื้อเยื่ออื่นๆ
- ปวดมากขึ้นแม้ว่าแผลจากการบาดเจ็บจะหายไปแล้ว
- ความปวดกระจายไปที่อื่น อาจรวมถึงทั้งแขน ขา มือ และเท้า
- บริเวณอื่นๆที่ได้รับผลกระทบอาจเปลี่ยนสี มีเหงื่อ หรือบวม
การรักษา
- กายภาพบำบัด
- จิตบำบัด
- ยา เช่น ยากล่อมประสาท โอปิออยด์ หรือยาแก้ปวด
- หยุดยาอื่นที่มีส่วนกระตุ้นประสาทให้รู้สึกเจ็บมากขึ้น
กลุ่มอาการความล้าเรื้อรัง
อาการ
- ยังรู้สึกเมื่อยล้าแม้ว่าจะพักไปแล้ว
- มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น ปวดหัว เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ และมีไข้
การรักษา
- ยาแก้ปวดNSAID สำหรับไข้หวัด ปวดหัว และปวดตัว
- ยารักษาอาการซึมเศร้าเพื่อการหลับและอารมณ์ที่ดีขึ้น
- ออกกำลังกาย
- การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
อาการ
- ปวดทั่วทั้งตัว
- รู้สึกปวดบริเวณจุดอ่อนอย่างน้อย 11 จุด เช่น ท้ายทอย หลังส่วนล่าง ข้อพับแขน และหัวเข่า
- อาการที่อาจเป็นอื่นๆ เช่น เมื่อยล้า มีปัญหาการนอน หรือข้อฝืดแข็งตอนเช้า
การรักษา
- ยาพรีกาบาลิน (Pregabalin) หรือยากันชักอื่นๆ
- นอนให้นานขึ้นและดีขึ้นด้วยการเปลี่ยนเวลานอนและเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหรือใช้ยาช่วยให้นอนหลับ
- ออกกำลังกายที่ไม่หนักมาก เช่น เดิน หรือว่ายน้ำ
- ลดความเครียด
- นวด
มีอาการปวดเล็กน้อย
ถ้าคุณรู้สึกปวดเล็กน้อย เช่น ข้อเท้าแพลง สามารถรักษาได้โดย 4 ขั้นตอนง่ายๆ
- พัก – การลดหรือหยุดใช้ส่วนที่ปวดสัก 48 ชั่วโมงจะช่วยลดอาการปวด
- น้ำแข็ง – ประกบน้ำแข็งลงบนบริเวณที่ปวดสัก 10 นาทีแล้วเอาออก 10 นาที ทำแบบนี้อย่างน้อย1ชั่วโมงและทำอีกเรื่อยๆจนกว่าจะหายดี
- กด – กดหรือบีบเบาๆบริเวณที่ปวด อย่าบีบหรือรัดแน่นจนเกินไปเพราะอาจทำให้เลือดไหลผ่านไม่สะดวก
- ยก – ยกบริเวณที่ปวดขึ้นเหนือระดับหัวใจเพื่อลดอาการบวม หรือใช้หมอนประคองแขนหรือขาที่เจ็บ
แต่ถ้าลอง 4 ขั้นตอนนี้แล้วยังไม่หายปวดควรไปหาหมอ