การเข้าพบแพทย์ : ทำไมการตรวจสุขภาพถึงมีความสำคัญ

การเข้าพบแพทย์-ทำไมการตรวจสุขภาพถึงมีความสำคัญ----feat

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระบุว่า การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยระบุความเสี่ยงและปัญหาที่มีก่อนเกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง หากตรวจพบโรคได้เร็ว การรักษาก็มักจะส่งผลได้ดีกว่า ดังนั้นการเข้าพบแพทย์เป็นประจำก็สามารถช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาว และมีสุขภาพที่ดีได้

การเข้าพบแพทย์

การตรวจสุขภาพเพื่อการป้องกันการเกิดโรค

การตรวจจะขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และประวัติด้านสุขภาพของคนในครอบครัว โดยการตรวจสุขภาพอาจจะประกอบไปด้วย

  • ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการได้ยิน เพื่อการตรวจสุขภาพโดยรวมของคุณ
  • ตรวจความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอล และน้ำหนัก
  • การพูดคุยเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมถึงการสอบถามเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ การใช้ยา และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ฉีดวัคซีน
  • การตรวจคัดกรองเพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง
  • การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Diseases ; STDs) และเชื้อเอดส์ (Human Immunodeficiency Virus ; HIV) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอายุ และพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของคุณ
  • การตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยจะเริ่มตรวจเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือน้อยกว่าหากมีประวัติของคนในครอบครัวที่เคยเป็นมากก่อน
  • พูดคุยเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า และความเครียดที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต

การตรวจสุขภาพเพื่อการป้องกันการเกิดโรค

การตรวจเพิ่มเติมสำหรับเพศชาย

สำหรับผู้ชาย นอกจากการตรวจน้ำหนัก ความดันโลหิต และการตรวจพื้นฐานอื่นๆ แพทย์อาจให้ทำการตรวจพิเศษอย่างอื่นเพิ่มเติม ได้แก่

  • การตรวจความผิดปกติของความดันในลำไส้ และการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Specific Antigen ; PSA) โดยจะเริ่มตรวจเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือน้อยกว่าหากมีประวัติของคนในครอบครัวที่เคยเป็นมากก่อน
  • ผู้ที่มีอายุ 65 – 75 ปี ถ้ามีการสูบบุหรี่ อาจได้รับการตรวจช่องท้องเพื่อดูการขยายตัวของหลอดเลือดแดงใหญ่ ที่อาจเกิดหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง หรือเยื่อบุหลอดเลือดแดงอ่อนแอ ซึ่งอาการเหล่านี้จะมีการพัฒนาตามอายุ

การตรวจเพิ่มเติมสำหรับเพศชาย

การตรวจเพิ่มเติมสำหรับเพศหญิง

สำหรับผู้หญิง นอกจากการตรวจน้ำหนัก ความดันโลหิต และการตรวจพื้นฐานอื่น ๆ แพทย์อาจให้ทำการตรวจพิเศษอย่างอื่นเพิ่มเติม ได้แก่

  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือแปปสเมียร์ (Pap smear) ซึ่งควรตรวจทุก ๆ 3 ปี
  • การตรวจเต้านม เพื่อหาความผิดปกติของกล้ามเนื้อในทรวงอก
  • การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยการตรวจภาพรังสีเต้านม (Mammogram) โดยจะเริ่มตรวจเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือน้อยกว่าหากมีประวัติของคนในครอบครัวที่เคยเป็นมากก่อน และควรเข้ารับการตรวจทุก ๆ 2 ปี
  • การตรวจมวลหนาแน่นของกระดูก เพื่อตรวจหาโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ที่เกิดจากความเปราะ และบางของกระดูก ซึ่งเป็นปกติของผู้หญิงเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่โรคกระดูกพรุนก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ก่อนวัยเช่นกัน โดยการตรวจจะเริ่มเมื่อมีอายุ 65 ปีขึ้นไป

การตรวจเพิ่มเติมสำหรับเพศหญิง

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบแพทย์

การเตรียมตัวเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้คุณได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเข้าพบแพทย์ โดยก่อนการตรวจสุขภาพให้คุณตรวจสอบประวัติด้านสุขภาพของครอบครัวในปัจจุบัน เตรียมคำตอบเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพทั่วไป หรือฉีดวัคซีน และจดคำถามหากคุณมีปัญหาสุขภาพเฉพาะ

ขณะที่พบแพทย์ อย่าอายที่จะตอบคำถาม และหากแพทย์พูดถึงเกี่ยวกับโรคเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าลังเลที่จะจดข้อมูลไว้ การตรวจสุขภาพอาจมีเวลาจำกัด การเตรียมตัวก่อนเข้าพบแพทย์จึงช่วยให้เกิดประโยชน์มากขึ้นได้

การเตรียมตัวก่อนเข้าพบแพทย์

Facebook Comments

ทิ้งข้อความไว้