10 เคล็ดลับการทานอาหารลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดในผู้หญิงไทย เซลล์ส่วนใหญ่บริเวณปากมดลูกไม่อันตรายและไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง แต่ก็มีบางส่วนที่อันตราย เช่น การติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Viruses) เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสภายนอกของอวัยวะเพศซึ่งกันและกันด้วย เชื้อ HPV มีมากกว่า 100 ชนิด และประมาณ 15 ชนิดในนั้นทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
ส่วนใหญ่เชื้อ HPV จะหายไปเอง แต่บางครั้งโดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) สูงมากผิดปกติ เซลล์ HPV จะแปลงร่างเป็นเซลล์ก่อมะเร็งทำให้เป็นมะเร็งได้ในภายหลัง แทนที่เซลล์นั้นจะตายไป เซลล์มะเร็งบุกเข้าไปในเนื้อเยื่อและบางครั้งกระจายไปส่วนต่างๆของร่างกายผ่านน้ำเหลืองหรือเลือด
ไม่ได้มีแค่การติดเชื้อ HPV ที่เป็นตัวการสำคัญในการพัฒนาโรคมะเร็งปากมดลูก งานวิจัยยังบอกอีกว่าการสูบบุหรี่และคลอดลูกหลายๆคนก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้เหมือนกัน
10 เคล็ดลับทานอาหารลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก
1. เลือกอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ
ดัชนีน้ำตาลเป็นตัววัดคุณภาพอาหารในคาร์โบไฮเดรต อาหารที่ย่อยช้าอย่างผักและผลไม้ทำให้ค่าน้ำตาลในเลือดคงที่และค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ อาหารที่ย่อยเร็วอย่างอาหารที่เต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรต มันฝรั่ง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวนและค่าดัชนีน้ำตาลสูง อาหารลดน้ำหนักที่มีค่าดัชนีคาร์โบไฮเดรตสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงให้กับมะเร็งหลายประเภท
2. โปรตีนมากเกินไปไม่ดี
John Beard นักวิจัยโรคมะเร็งจากสกอตแลนด์กล่าวว่า แพนครีเอติน (Pancreatin) เป็นตัวป้องกันร่างกายจากการแพร่กระจายและยับยั้งเซลล์มะเร็ง ที่มีส่วนผสมของเอนไซม์ย่อยโปรตีนหลายตัว ฉะนั้นถ้าทานอาหารที่มีโปรตีนมากเกินไปจะทำให้เอนไซม์แพนครีเอตินยุ่งอยู่กับการย่อยโปรตีน ไม่มีเวลามาต่อสู้กับมะเร็งปากมดลูก ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าร่างกายต้องการช่วงที่ไม่มีโปรตีน 12ชั่วโมงต่อวันเพื่อสู้กับเชื้อมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ทานอาหารที่มีสารอินโดล-ทรี คาร์บินอล
สารอินโดล-ทรี คาร์บินอล หรือ I3C ที่หาได้จากพืชตระกูลกระหล่ำ เช่น บรอคโคลี่ กะหล่ำปลี ผักคะน้า และถั่วงอก มีความสามารถในการต่อต้านมะเร็งรวมถึงมะเร็งปากมดลูก สารอินโดล-ทรี คาร์บินอลจะถูกปล่อยออกมาจากผักตระกูลกระหล่ำเมื่อถูกสับ บด หรือเคี้ยว เพื่อล้างพิษสารต่างๆในร่างกายและเพิ่มการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้อีกด้วย
4. ขมิ้นชัน
ขมิ้นชันถูกพิสูจน์แล้วว่าสามารถต่อสู้กับมะเร็งได้เกือบทุกชนิด และจากการทดสอบของสถาบันการศึกษาเซลล์และป้องกันโรคมะเร็งในประเทศอินเดียพบว่าขมิ้นชันยังสามารถช่วยต่อต้านไวรัส HPV ที่เป็นตัวการหลักก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้อีกด้วย
5. ทานอาหารที่มีกรดเอลลาจิก (Ellagic acid)
การที่จะต่อสู้กับโรคมะเร็งปากมดลูกได้ กรดเอลลาจิกอาจเป็นอาวุธที่ดีที่สุด ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์แนะนำว่ากรดเอลลาจิกสามารถกำจัดมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการปล่อยเอนไซม์ล้างพิษในร่างกาย กรดเอลลาจิกยังสามารถป้องกันสารก่อมะเร็งจากการติดเชื้อไปสู่ DNA และกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
เอลลาจิแทนนินที่ร่างกายแปลงสภาพเป็นกรดเอลลาจิก หาได้จากผลไม้และเบอร์รี่สีแดงหลายชนิด ราสเบอร์รี่เป็นหนึ่งในอาหารที่ดีที่สุดที่ช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็งปากมดลูก หรือถั่ว เช่น วอลนัทก็มีกรดเอลลาจิกเป็นส่วนประกอบเช่นกัน
6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารกลุ่มไนเทรต (Nitrates)
ไนเทรตคือสารจากธรรมชาติพบได้ในอากาศ พื้นผิวน้ำ ใต้น้ำ ดิน และพืช นอกจากนั้นยังพบได้ในอุตสาหกรรมการอาหาร ที่ใช้ไนเทรตในการแปรรูปเนื้อ และเมื่อเราทานเข้าไป สารไนเทรตก็จะแปลงเป็นไนไตรต์ (nitrites) ที่อาจเปลี่ยนรูปเป็นไนโตรซามีน (nitrosamines) ได้ นักวิทยาศาสตร์วิจัยแล้วว่าไนโตรซามีนก่อให้เกิดมะเร็งในคนได้ การทานอาหารที่มีวิตามินซี และวิตามินอีจะช่วยล้างพิษและการแปรรูปของไนโตรซามีนได้ จากงานวิจัยพบว่าสารไนเทรตที่มีในผักไม่มีส่วนทำให้เป็นมะเร็ง แต่สารไนเทรตในอาหารแปรรูปอาจเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาโรคมะเร็งได้
7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin)
เชื้อราอาจเกิดจากอาหารที่มีสารก่อมะเร็งขณะแปรรูป เก็บ และขนส่ง สารนั้นอาจรวมไปถึงอะฟลาทอกซินที่ทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากความสามารถในการทำลายDNA อะฟลาทอกซินทนต่อการปรุงสุกและแช่แข็งแต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดยการรับวิตามินซีและอี
8. ได้รับวิตามินซีและอีอย่างเพียงพอ
วิตามินซีและอีเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพและช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นอาหารที่เต็มไปด้วยวิตามินซีและอีอาจช่วยลดการพัฒนาของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ แต่จากการวิจัยผลกระทบของวิตามินซี พบว่าวิตามินซีลดระดับสารไนโตรซามีนถ้าไม่มีไขมัน แต่ถ้าเพิ่มไขมันลงไป ไขมันจะไปกระตุ้นการเกิดของไนโตรซามีน
9. ลดไขมันโดยเฉพาะไขมันสัตว์
ไขมันสัตว์ที่เป็นแหล่งรวมของกรดอะราคิโดนิกอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง เพราะกรดอะราคิโดนิกช่วยให้มะเร็งเติบโตและกระจายได้ง่ายขึ้น บางงานวิจัยพบว่ากรดอะราคิโดนิกทำลายเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกายอีกด้วย เชื่อกันว่ากรดไขมันโอเมก้า3ที่พบมากในปลาที่มีไขมันมาก เมล็ดแฟลกซ์ และวอลนัทช่วยปกป้องมะเร็งปากมดลูกได้ แต่ก็ไม่ควรทานมากเกินไปเพราะกรดไขมันจะไปกระตุ้นการผลิตน้ำดีซึ่งอาจแปลงเป็นกรดอะโพโคลิกที่เป็นสารก่อมะเร็งได้
10. ให้ร่างกายได้รับซิงค์ในปริมาณที่เพียงพอ
ซิงค์เป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการผลิตมากกว่า 200 เอนไซม์ที่จำเป็นต่อร่างกาย หนึ่งในนั้นก็คือซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส (SOD) หน้าที่ของ SOD ในกระบวนการต่อต้านสนุมูลอิสระคือป้องกันการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกจากการทำลายอนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย นอกจากนั้นซิงค์ยังลดความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกโดยการช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างปกติ